วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log นอกห้องเรียน (Sep 22nd, 2015)

Learning log นอกห้องเรียน
(Sep 22nd, 2015)
การอ่าน  หมายถึง  การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน  ผู้อ่านสามารถนำความรู้  ความคิด  หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  การอ่านจึงมีความสำคัญ คือ การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จำเป็นต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ และ การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ข้าพเจ้าได้ฝึกทักษะการอ่านโดยการฝึกอ่านเรื่อง Noun Clause เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านไวยากรณ์ให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Noun clause คือ ประโยคย่อยที่ถูกนำมาใช้อย่างคำนาม ดังนั้นจึงสามารถที่จะนำเอา Noun clause ทั้งหมดไปเป็นประธานของประโยคหรือเป็นกรรมของประโยคก็ได้
                โครงสร้างของ Noun clause คือ คำขึ้นต้น Clause + S. + V. and คำขึ้นต้น Clause + V. ซึ่ง คำขึ้นต้น Clause สามารถทำหน้าที่เป็นประธานของ Noun Clause ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
                หน้าที่ของ Noun Clauses ในตัวอย่างข้างล่างประโยค มีคำนามหรือกลุ่มคำนาม (noun phrase)  และประโยค มี  noun clause  ในตำแหน่งเดียวกันกับประโยค a   
          1. Subject
                  a.  His statement is correct.
                  b. What he said is correct.       
                        
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า What he said (สิ่งที่เขาพูด) ใน   ประโยค b เป็นประโยคย่อย คือมีภาคประธาน he และภาคแสดง said โดยซ้อนอยู่ในประโยคอีกประโยคหนึ่งและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคนั้น เทียบได้กับกลุ่มคำนาม His statement (คำพูดของเขา) ซึ่งเป็นประธานของประโยค a
          2. Direct Object
                  a. We doubt his way of doing it.
                  b. We doubt how he did it.                                   
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า how he did it เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นกรรมตรง เทียบได้กับกลุ่มคำนาม his way of doing it ในประโยค a
          3. Indirect Object
                  a. He told the story to everyone.
                  b. He told the story to whomever he met                                                   
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า whomever he met เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เทียบได้กับกลุ่มคำนาม  everyone ในประโยค a
          4. Object of a Preposition
                  a. His relatives are curious about his living place.
                  b. His relatives are curious about where he lives.
                จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า where he lives เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นกรรมตามหลังบุพบท เทียบได้กับกลุ่มคำนาม his living place ในประโยค a
          5. Subject Complement
                  a. The question is about the timing of parliament dissolution.
                  b. The question is (about) when parliament will be dissolved.                                                                         
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า when parliament will be dissolved เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมประธาน ที่ตามหลัง คำกริยา BE  เทียบได้กับกลุ่มคำนาม the timing of parliament dissolution ในประโยค a
          6. Object Complement
                  a. You may name him Sam.
                  b. You may name him whatever you like.
             จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า whatever you like เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมกรรม  เทียบได้กับ Sam ในประโยค a
          7. Appositive
                  a. Jack, the hero in the story, needs to prove his innocence.
                 b. The fact that he was not at the murder scene needs to be proved.
               จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า that he was not at the murder scene  เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็น appositive เทียบได้กับกลุ่มคำนาม the hero in the story ในประโยค a
                คำนำหน้า noun clause :  noun clause มีคำที่ใช้นำหน้าเพื่อเชื่อมกับ main clause คำที่ใช้นำหน้าดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ  That, Wh-words:  who, whoever, whom, whomever, whose, what, whatever, which, whichever, where, wherever, when, whenever, why, how, If/ Whether (… or not)
                that นำหน้า noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า (affirmative statement)
หรือ ประโยคปฏิเสธ (negative statement)  ตัวอย่างเช่น
                        Affirmative statement:  That he will come is certain.  (การที่เขาจะมาเป็นสิ่งแน่นอน)
                        Negative statement:  Jane replied that her boss would not be in tomorrow.
                                                    (เจนตอบว่าเจ้านายของเธอจะไม่อยู่พรุ่งนี้)
           คำว่า  that มีความหมายว่า  การที่”  ในกรณีที่ noun clause เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that มีความหมายว่าว่าในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม  ดังในตัวอย่างข้างต้น อนึ่ง noun clause  ที่นำหน้าด้วย that  มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause  เป็นเพียงการเชื่อม noun clause  กับ main clause
             1)  หน้าที่ของ noun clause  ที่นำหน้าด้วย that
                 that สามารถใช้นำหน้า noun clause  ที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม ส่วนเสริมประธาน กรรมตามหลัง
บุพบท และ appositive ตัวอย่างเช่น
Subject:   That the majority of people in developing countries live in dire poverty is true.
Object:    The government believes that the national economy will recover soon.
Subject complement:  His ambition was that he wanted to become prime minister.
Object of a preposition:  The twins are similar in that they love folk songs.
Appositive:  The rumor that there is a serpent in the Mae Kong River may be true.
              2)  การละคำนำหน้า  that
                 that ที่นำหน้า noun clause* ที่ทำหน้าที่บางหน้าที่ใน complex sentence สามารถจะละได้ในกรณี
ต่อไปนี้
                  กรณีที่ noun clause เป็น object
                      We believe (that) he told the truth.
                      The police assured us (that) the children would be found safe and sound.
                      I wish (that) I would win the first prize.

                 กรณีที่ noun clause เป็น subject complement
                      The reason is (that) he speaks English fluently.
                      My opinion is (that) you’d better stay home.

                  ตามหลังคำคุณศัพท์  
                      I am sure (that) he can get a good job.
                      They are afraid (that) they cannot catch the 6 o’clock  train.
               *(ในกรณีที่ noun clause เป็นประธาน ไม่สามารถละ that ได้)

              ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ that 
                  appositive noun clause  จะนำหน้าด้วย that เท่านั้นและไม่มีการละ that
                     The news that she won the beauty contest was published in all of the daily
                        newspapers.
                  noun clause  ที่นำหน้าด้วย that ที่ใช้ตามหลังคำบุพบทมีเป็นจำนวนน้อย       
                      โดยที่คำบุพบทที่จะตามด้วย “that” clause มักตามหลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาที่แสดง
                      ความเหมือนกันหรือต่างกัน  เช่น  similar, alike, different, differ
                            John and his brother are alike in that they enjoy folk music.
                            The two girls differed in that one was quiet while the other was talkative.
                  noun clause  ที่นำหน้าด้วย that  ไม่สามารถใช้เป็นกรรมรองหรือส่วนเสริมกรรมได้
                  that ที่นำหน้า noun clause  ที่ทำหน้าที่ประธานของประโยค สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
                     โดยใช้  impersonal pronoun “ it” นำหน้าประโยค  แล้วนำ noun clause  ไปไว้ท้ายประโยคได้
                            That he showed up at the party was a great surprise.
                            It was a great surprise that he showed up at the party.
Wh-words
          wh-words ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามข้อมูล เช่น
                   I doubt why you want statistical figures.
          หน้าที่ของ noun clause ที่นำหน้าด้วย wh-words
                   noun clause ที่นำหน้าด้วย wh-words อยู่ในตำแหน่งของคำนามในประโยคได้ทุกตำแหน่ง
            ยกเว้น  appositive โดย noun clause ที่นำหน้าด้วย wh-words มีหน้าที่ต่างๆดังนี้
                       Subject:  What he did was a serious mistake.
                       Object:  She told me how I could raise more money for charity.
                       Indirect object:  The man enjoyed explaining his theory to whoever was  interested in it.
                       Object of a preposition:  The question of when the election will be held will be answered by the Election Committee tomorrow.
                       Subject complement:  You are what you eat.
                       Object complement:  People call him whatever they like.
    wh-words ที่ใช้นำหน้า noun clause จะมีหน้าที่บางประการใน noun clause  ดังนี้
             who, whoever, whom, whomever  ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
                   Whoever wins must treat us to lunch.
                   I want to know who he has chosen to marry.
 whose  คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามหลังบุพบท และส่วนเสริมประธาน ใน noun clause
                   I asked whose money was stolen.
                   Tell me whose book you are reading.
                   John doubted in whose house Jane lives.
                   I want to know whose book  this is.
what, whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม และส่วนเสริมประธานใน noun clause
                   I’m afraid of what will happen after that.
                   What I did was acceptable.
                   I want to know what her name is.
                   You should give him whatever he likes.
which, whichever  มักมีคำนามตามหลัง โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
                   I don’t know which brand is worth buying.
                   It’s half price for whichever book you buy.
                   You can choose whichever  you like.
where, when, why, how ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ใน  noun clause
                 :: where, wherever บอกสถานที่
                   Where he will stay has yet to be decided.
                   You should ask him where he wants to stay.
                   Wherever you go is the right place for me.
                 :: when, whenever  บอกเวลา
                   You must find out when he is due to arrive at the airport. 
                   We are interested in when the conflict will be resolved.
                   I don’t care whenever he does  that.
                 :: why  บอกสาเหตุหรือเหตุผล
                   Why he went to China was not known.
                   Nopadol told the teacher why he could not finish his assignment.
                 :: how  บอกกิริยาอาการ
                   Describe how you felt at that time.
                       How he was involved in the scandal needs to be investigated.

If/Whether (... or not)
          ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามว่าใช่หรือไม่  if ใช้ได้เฉพาะนำหน้า noun clause ที่เป็นกรรม เท่านั้น ส่วน whether ใช้ได้ทุกกรณี
                     I wanted to know if/whether I could accompany him.
                     He asked if/whether or not he could take a day off.
                     There is no answer to whether the political turmoil will end soon.
                          Whether our team will win or not depends on luck.
             ข้อสังเกต   whether จะมี or not ตามหลังทันที  ต่อท้ายประโยค หรือไม่มีก็ได้ แต่ if ไม่สามารถมี or not ตามหลังทันทีได้
                     I wonder whether or not the weather will be fine on the day of our departure.
                     I wonder if/whether the weather will be fine on the day of our departure or not.

                     I wonder if/whether the weather will be fine on the day of our departure.