วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log ในห้องเรียน (Sep 1st , 2015)

Learning log ในห้องเรียน
(Sep 1st , 2015)
การศึกษากับคุณธรรมจริยธรรมในห้องเรียน
การศึกษาของเราในช่วง 30-40 ปี ที่ผ่านมานี้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรดูได้จากสภาพของสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งเห็นได้ชัดว่า ครูของเรามีลักษณะของ คนที่ได้รับการศึกษาแล้ว น้อยลง เรามีคนที่จบชั้นสูง ๆ ชั้นปริญญาโท ปริญญาเอกจำนวนมาก จบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงมหาศาล คนไม่รู้หนังสือมีจำนวนน้อยลง แต่จะเห็นว่าสังคมของเราจะเป็นสังคมล้าหลัง เป็นสังคมที่ไร้ระเบียบ
                นักหลอกลวงต้มตุ๋น ทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ เพราะยังมีคนให้หลอกได้มาก คนที่หลงงมงายในไสยศาสตร์หรือสิ่งที่ไร้เห็นผลต่าง ๆ ก็ยังมีมากคนที่เอาแต่ประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสังคม ต่อประเทศชาติ และต่อโลกยังมีมากมาย แสดงว่าเรามีการเรียน แต่ไม่มีการศึกษาไม่มีการอบรม ไม่มีการพัฒนาพอ นั่นก็คือ การศึกษายังไม่ดี เพราะยังไม่ได้ยกระดับคนของเราให้เป็นคนที่พัฒนาขึ้นได้
                ดิฉันเชื่อมั่นว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะอบรมคนให้มีคุณภาพตามที่สังคม และประเทศชาติต้องการ เช่น ถ้าเราต้องการให้คนของเราเป็นอย่างไรเราก็ต้องตั้งเป้าหมาย กำหนดวิธีการ และดำเนินการให้การศึกษาอบรม เพื่อให้ได้ผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ คิดง่าย ๆ คือ เราต้องการสร้างคนไทยที่เป็นคนที่มีคุณภาพ ถ้ามองคนไทยปัจจุบันจะเห็นว่าคนไทยมีความสามารถ มีความรู้ดี เรียนรู้วัฒนธรรม รู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
เข้ามาพัฒนาความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต การศึกษาที่ผ่านมาทำให้คนไทยเก่งขึ้น ชีวิตคนไทยดีขึ้นทางด้านวัตถุ แต่ถ้ามองทางด้านจิตใจ คุณธรรม วัฒนธรรมและความเป็นไทยจะเห็นได้ว่าไม่ได้พัฒนาขึ้นเท่าไร คนที่จบการศึกษาสูงๆ แล้วยังเห็นแก่ตัว ไม่มีระเบียบ ไม่รักษาวินัย ไม่มีความตรงต่อเวลา และทำสิ่งที่น่าละอายต่าง ๆ มีมาก เรายังเห็นคนจบการศึกษาสูง แต่ไม่รู้จักมารยาทในสังคม ไม่มีความเกรงใจ ไม่คิดว่าการกระทำของตนรบกวนหรือก้าวก่ายสิทธิ์ของผู้อื่น
                ยกตัวอย่างง่าย ๆ คนมีการศึกษาจะไม่แซงคิว หรือหาช่องทางให้ตนเองได้ประโยชน์อย่างไม่ยุติธรรม หรือเรื่องการขับรถคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรจะถือว่าเป็นคนมีการศึกษาได้อย่างไร ถ้ารถยังขวางทางกันอยู่คนที่มีการศึกษาจะไม่แทรกตัวเข้าไปเพิ่มปัญหา แต่คนไม่มีการศึกษาจะแทรกเข้าไป และหาโอกาสที่ตนจะได้ไปก่อนคนอื่น โดยไม่ดูว่าจะยิ่งทำให้ปัญหาหนักขึ้นอีกหรือไม่ เป็นต้น
                ดิฉันมองว่า การพัฒนาจิตใจให้เป็นคนดีที่มีคุณภาพมีวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา ถ้าเราไม่อบรมจิตใจคนของเราให้เป็น คนดีเป็น คนไทยที่ดีสอนแต่ความรู้เราก็จะได้แต่คนที่ฉลาด แต่เอาเปรียบผู้อื่น ฉลาดที่จะโกง ฉลาดที่จะก่ออาชญากรรม เพื่อประโยชน์ของตน การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จึงควรจะเน้นที่การสร้างคนดี สร้างคนไทยที่ดี ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ทางวิชาการ เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าของโลก
                ปัจจุบันเราเห็นแล้วว่าคุณลักษณะที่ดีหลายประการในสังคมไทยซึ่งเคยช่วยจรรโลงใจให้สังคมเป็นสุขได้เหือดหายไป เช่น การร่วมมือการทำงานไม่ก้าวก่ายสิทธิ์ของผู้อื่น เพราะ ความเกรงใจความกตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยที่ปฏิบัติกันเป็นปกติของสังคมไทยก็กลับทอดทิ้ง และไปตามอย่างวัฒนธรรมตะวันตก ความรักนวลสงวนตัวของหญิงไทย ความมีมารยาทอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
                การสั่งสอนเด็กให้มีความอดทน พูดเพราะ เกรงกลัวบาป มุ่งทำความดีเพื่อผลในภายหน้า รวมทั้งคุณลักษณะอื่น ๆ อีกมากมาย สังคมไทยในปัจจุบันก็ทอดทิ้ง และไม่ได้มีการสั่งสอนอบรมให้แก่เด็กไทยอย่างจริงจัง เด็กรุ่นหลังจึงเติบโตจนเป็นคนไทยรุ่นใหม่ที่ไม่มีมารยาท ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีคุณภาพ และไม่งดงามตามอย่างที่สังคมต้องการ ปัญหาที่ยิ่งใหญ่อีกปัญหาหนึ่งของสังคมไทยคือ ปัญหาคอรัปชั่น ทรุดจริต คดโกง เป็นปัญหาที่เกิดจากความโลภ ความอยากได้ ความไม่รู้จักพอ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้สังคมไทยล้าหลัง และคนไทยกลายเป็นคนด้อยพัฒนา
                จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาจึงต้องเน้นที่การสร้างคนที่จะรักษาคุณลักษณะต่าง ๆ ของคนไทยไว้ต้องสร้างความซื่อสัตย์ ความสุจริต และต้องพยายามขจัดความโลภ ความอยากได้ ให้หมดไป หรือให้ลดลง คงจะต้องยอมรับว่าสังคมภายนอกโรงเรียน และสื่อมีส่วนอย่างมากในการเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และทำให้เด็กเรียนรู้ความเลวร้ายของสังคมไปโดยไม่รู้ตัว สังคมภายนอกก็คงต้องพยายามแก้กันไป แต่ในโรงเรียนครู และผู้บริหารการศึกษามีหน้าที่ที่จะสร้างเด็กให้รู้จักเกลียดกลัวความชั่ว ความทุจริต สร้างความซื่อสัตย์สุจริตให้มั่นคงในจิตใจเด็ก และสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถต้านกระแสความคดโกงในสังคมได้
               

คนไทยรุ่นต่อไปควรจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างให้ประเทศไทยให้ขาวสะอาดปราศจากความทุจริตคอรัปชั่นให้ได้ อย่างน้อยก็อย่าให้คนไทยรุ่นใหม่เข้าไปพัวพันกับความชั่วนั้นที่สำคัญคือครู ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจมุ่งมั่นอมรมสั่งสอนเด็กให้เป็นคนดี มีคุณภาพของประเทศด้วยความเมตตาและปรารถนาดีต่อเด็กอย่างเต็มที่และต้องสำรวจตนเป็นตัวอย่างในการที่ถูกที่ควรให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็น ปูชนียบุคคล















Adjective Clause
Adjective Clause คือ dependent clause ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำ adjective คำหนึ่ง ทำหน้าที่ขยายคำนาม และคำสรรพนาม บางครั้ง Adjective Clause จะถูก เรียกว่า Relative Clause ในภาษาไทยเทียบได้กับคำว่า ซึ่ง... ,ที่... เช่น คนที่ฉันเจอเมื่อวานชอบกินกบ เป็นต้น ซึ่งถ้ารู้วิธีใช้คำพวกนี้ สามารถใช้ประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้ ลักษณะของ Adjective Clause จะนำหน้าด้วยคำเชื่อม (Connective) 2 ชนิดคือ Relative pronoun: who ,whom ,that ,which ,whose และ
Relative adverb: when, where, why
Relative pronoun เช่น who ใช้กับคน, which ใช้กับสิ่งของ, that ใช้ได้ทั้งคนและสิ่งของ, whose แสดงความเป็นเข้าของ, where ใช้กับสถานที่, when ใช้กับเวลา, whom ใช้กับคนที่เป็นกรรม (แต่เดี๋ยวนี้ก็ใช้ who เหมือนกัน) เช่น
·       I thank the woman. She helped me => I thanked the woman who helped me.
·       The book is mine. It is on the table => The book that is on the table is mine.
·       I know the man.  His bicycle was stolen => I know the man whose bicycle was stolen.
            การลดรูป adjective clauseคำนำหน้า “who”, “which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม  ดังนี้ Appositive Noun Phrase, Prepositional Phrase, Infinitive Phrase, Participial Phrase
            Appositive Noun Phrase คือ adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive ดังนี้
·       Mr. John, who is my thesis adviser, will retire next year. => Mr. John, my thesis adviser, will retire next year.
·       His novel, which is entitled behind the picture, is very popular. => His novel, behind the picture, is very popular.
            Prepositional phrase adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
·       The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen. => The lady in the national costume is a beauty queen. ในที่นี้ dressed in the national costume มีความหมายเหมือน in the national costume
·       The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. => The football player from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. ในที่นี้ came from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil
            Infinitive Phrase: adjective clause ที่มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive phrase ดังนี้
·       He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday. => He is the first person to be blamed for the violence yesterday.
·       The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis. => The researcher did not provide the specific statistics used to test the hypothesis. =>The researcher did not provide the specific statistics to test the hypothesis.

            Participial Phrase คือ Present Participial Phrase: adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน   สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูป โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing) ตัวอย่างเช่น
·       The school students who visited the national museum were very excited. =>The school students visiting the national museum were very excited.
·       The two robbers who had escaped to Cambodia were arrested a week ago. =>The two robbers having escaped to Cambodia were arrested a week ago.
·       The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately. => The earthquake victims having been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.
            Past Participial Phrase: adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก เหลือแต่ past participle ดังนี้
·       The money which was lost during the trip was returned to its owner. =>The money lost during the trip was returned to its owner.
·       His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer. => His father, sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.
            อย่างไรก็ตาม ทั้ง present participial phrase และ past participial phrase ขยายนามโดยนำมาวางไว้หน้าคำนามได้ ดังนี้ 
·       Thailand is a country which exports rice. => Thailand is a rice-exporting country.

·        Passengers have to wait for trains which come late. => Passengers have to wait for late-coming trains.
·       This blouse which was made by hand is very expensive. => This hand-made blouse is very expensive.
·       The chairs which were slightly damaged were sent for repair. => The slightly damage chairs were sent for repair.