Learning log ในห้องเรียน
(August 18th ,2015)
ในปัจจุบันภาษานี้การเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก
ผู้เรียนภาษาอังกฤษไปแล้วต้องสามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันได้
ผู้ที่จะนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร อ่านบทความหรือข่าว เรื่องสั้น ฟังข่าว และอื่นๆเกี่ยวกบการใช้ภาษาอังกฤษได้
ต้องเป็นผู้ที่ค่อนข้างชำนาญหรือแม่นยำในเนื้อหาของภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะผู้ที่ออกไปเป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษเรื่องแม่นยำเป็นเรื่องสำคัญ
คือต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้าง (Structure -
Syntax) ความหมาย (Meaning - Semantic) และเรื่องกาล
(Tense) ทั้ง 12 กาล
เพื่อความแม่นในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
เรื่อง
Tense เป็นหัวใจสำคัญของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
และมีความสำคัญต่อการแปลมากโดยพื้นฐานของ Tense
มีแค่ อดีต ปัจจุบัน อนาคต และจาก 3 พื้นฐานของ
Tense สามารถแยกได้เป็นสิบสองแบบ คือ อดีตแบบธรรมดา
ปัจจุบันแบบต่อเนื่อง อนาคตแบบสมบูรณ์ เป็นต้น ผู้เรียนจะต้องมีความชำนาญ รู้ลึก
รู้จริง เข้าใจทั้ง 12 Tense โดยหลักๆมี Simple,
Continuous, Perfect และ Perfect Continuous และแต่ละประเภทจะมีลูกสามคน
รวมเป็น 12 Tense ได้แก่ Present Simple, Past
Simple, Future Simple, Present Continuous, Past Continuous, Future Continuous,
Present Perfect Continuous, Past Perfect Continuous, และ Future
Perfect Continuous ทั้ง 12 Tense จะมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้
ทุกครั้งที่เราจะต้องใช้ประโยคภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
Tense ก็จะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ แม้ว่า
Tense จะเป็นเรืองยากและสร้างความขับข้องใจให้กับคนไทยหรือผู้เขียน
แต่เราก็ต้องใช้มันเพราะ Tense
เป็นหัวใจที่สำคัญของไวยากรณ์ทางภาษา ซึ่ง Tense
จะมีส่วนเกี่ยวกับรูปของกริยาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่การกระทำหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น
เช่น I eat. (Present) – I ate. (Past) จากประโยคตัวอย่าง
จะเห็นได้ว่า Tense เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “เวลา”
อย่างชัดเจนไม่ต้องสับสนกับการเลือกใช้ หากเหตุการณ์ใดเกิดในปัจจุบันก็ใช้คำกริยาในรูป
Present หากเกิดในอดีตก็ใช้รูปกริยา Past และหากเกิดในอนาคตก็ใช้รูปกริยา Future ไปตามบทบาทหน้าที่
การเป็น “ปัจจุบัน อดีต และอนาคต” นี้เป็นแค่เพียงบทบาทบางส่วนของ Tense เท่านั้นเอง สิ่งที่น่าหนักใจจึงไม่ใช่ชื่อหรือหน้าตาของแต่ละ Tense
หากแต่เป็นบทบาทในการสื่อความหมายของมันที่เราจำเป็นต้องรู้และเลือกใช้ให้เป็นต่างหาก
แม้ Tense จะมีนัยยะเกี่ยวโยงกับเวลาแต่ “เวลา”
ก็ไม่ใช่เงื่อนไขทั้งหมดที่เราใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินแม้โดยทั่วไป “เวลา”
จะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา แต่ก็ยังมีเกณฑ์อย่างงอื่นอีกมากมายที่เข้ามามีบทบาทต่อการเลือกใช้
Tense ผุ้พูดจะเลือกใช้ Tense
ตามความรู้สึกนึกคิดและความเข้าใจที่เขามีต่อเหตุการณ์นั้นๆ เป็นสำคัญ
ภายใต้เงื่อนไขแห่งธรรมชาติหรือสันดานของ Tense
ที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ก่อนที่ผู้เรียนจะรู้จักกับธรรมชาติหรือสันดานของ Tense ต้องดูภาพรวมของ 12 Tense ก่อนเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
หากเปรียบเทียบ Tense เป็นคนที่เราต้องการนำเขามาใช้งาน
สามสิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับ Tense เหล่านั้นคือ Name ชื่อที่เราใช้เรียกขนาน หน้าตา คือ โครงสร้างทางไวยากรณ์ และ It’s
nature. สันดาน คือ ตัวตนที่แท้จริง
Tense ในภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 12 Tense แต่ละ Tense มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไป
เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสันดานหรือธาตุแท้ที่อยู่ข้างใน โดยดูภาพรวมของทั้ง 12
Tense ก่อน
Past Simple Present
Simple Future Simple
Past Continuous Present
Continuous Future
Continuous
Past Perfect Continuous Present Perfect Continuous Future Perfect Continuous
นี่คือ “ชื่อ”
ทั้งหมดของ Tense ทั้ง 12 ตัวที่ขีดเส้นใต้ที่เน้นให้เห็นชัดขึ้นมานั้น เพื่อที่แบ่ง Tense ตามกลุ่มของ “เวลา” เป็น...
Past (อดีต) Present
(ปัจจุบัน) Future (อนาคต)
หรือเราอาจมอง Tense ทั้ง 12 อีกครั้ง ตัวที่เน้นความสำคัญจะเปลี่ยนจากความเป็นอดีต
ปัจจุบัน และอนาคต แล้วเปลี่ยนไปมองที่ ความเป็น...
Simple, Continuous, Perfect และ Perfect
Continuous
แต่จริงๆแล้วลักษณะพื้นฐานของมันแค่ 3 กลุ่มเท่านั้นเอง คือ
แต่จริงๆแล้วลักษณะพื้นฐานของมันแค่ 3 กลุ่มเท่านั้นเอง คือ
Simple
Continuous Perfect
ทั้งนี้ก็เพราะกลุ่มสุดท้ายอันได้แก่
Perfect Continuous นั้นได้มาจากการรวมกันของกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 เข้าด้วยกัน
เพื่อที่จะทำความรู้จักกับความเป็น Simple, Continuous, Perfect และ Perfect Continuous ที่ผ่านมาเราบอกแค่ชื่อที่เราใช้เรียกมันเท่านั้นเอง
หน้าตาของทั้ง 12 Tense เป็นอย่างไร
เรายังไม่ได้เห็นโฉมหน้าของมันเลย
หน้าตาหรือโครงสร้างของ
Tense ทั้ง 12 Tense มีดังนี้
Simple: Present: S + V1 I eat.
Past: S + V2 I ate.
Future: S + will + V.inf I will eat.
Continuous: Present: S + is/am/are +
V.ing I am eating.
Past: S + was/were + V.ing I was eating.
Future: S + will be + V.ing I will be eating.
Perfect: Present: S + has/have + V.3 I have eaten.
Past: S + had + V.3 I had eaten.
Future: S + will + have + V.3 I will have eaten.
Perfect Present: S +
has/have + been + V.ing I
have been eating.
Continuous: Past: S + had + been + V.ing I
had been eating.
Future: S + will + have + been + V.ing I will have been eating.
Simple รูปกริยาของ Tense
แบบ Simple โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม past
กับกลุ่ม Present นั้น
จะมีลักษณะหน้าตาง่ายๆไม่ซับซ้อนสมกับชื่อของมันนั่นแหละ คือ
มีประธานของประโยคแล้วตามด้วยกริยาตัวเดียวโดดเด่นอีกตัวหนึ่ง ส่วนกลุ่ม Future
นั้นจะพิเศษขึ้นมาหน่อยเพราะมี will เป็นตัวเสริมเพิ่มเข้ามาทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย
Continuous (Be + V.ing) ในกลุ่ม Tense แบบ Continuous นั่นก็จะมี
Verb to be (be,is,am,are,was,were,been) ไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่งกับกริยาที่เติม
ing อยู่ด้วยเสมอ Perfect (have + V.3) และเมื่อจับตาดูที่กลุ่ม Tense แบบ Perfect ก็จะเห็น Verb to have (have/has/had) ไม่มีตัวใดก็ตัวหนึ่ง
ตามด้วยกริยาช่อง 3
Perfect continuous (have + been +
v.ing) ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ Perfect Continuous นั่นก็มีทั้งความเป็น Perfect และ Continuous
รวมอยู่ในตัวเองเลย คือ มีทั้ง verb to have กับ
V.3 ได้แก่ been และ been ยังเน้นความเป็น perfect แล้วทำหน้าที่ในฐานะ V.to
be ให้กับกริยาเติม ing ของ Continuous
ไปในตัวด้วย
ธรรมชาติของ The simple tense ธรรมชาติของความเป็น Simple คือหัวใจหลักของ Tense ในกลุ่มนี้ ส่วน “เวลา” อดีต
ปัจจุบัน หรืออนาคต เป็นเพียงฉากหลังที่ธรรมชาติของ Tense ในกลุ่มนี้ได้ใช้เป็นเวทีแสดงบทบาทของมันเท่านั้นเอง
แม้จะต่างกันที่ความเป็น Past Present Future แต่ธรรมชาติของเป็น
Simple ของมันยังคงเป็นลักษณะร่วมที่สำคัญ
Present Simple Tense เป็น Tense
พื้นฐานที่ถูกนำมาใช้กันมากที่สุด เรามักจะใช้ Tense
นี้ในการสื่อสารมากกว่า Tense ใดๆ รูปร่างหน้าตาของ Present
Simple Tense หรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ของมันนั้นง่ายมาก
ไม่มีอะไรซับซ้อนแต่อย่างใด คือ มีประธานกับกริยาช่อง 1 รูป Present Simple (S + V.1) เช่น
How are you today? ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า Present
Simple Tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะที่พูดเลย
และ Present Simple จะใช้ในเหตุการณ์บ่อยๆ หรือเกิดเป็นประจำ
ในประโยคเหล่านั้นจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลามาใส่ในประโยคเพื่อขยายความ
ตัวอย่างคำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะพบเห็นอยู่ในประโยคแบบ Present Simple Tense ได้แก่ คำว่า often, always, usually, every morning, twice a month
และ seldom
ตัวอย่างเช่น I often
come to visit Plaifa.
I always wake up early.
What time do you usually get up?
I get up at 6 o’clock every
morning.
ประโยคแบบ Present Simple Tense ที่ไม่มีกริยาวิเศษณ์บอกเวลาอีก
5 ประโยค
ตัวอย่างเช่น I’m Thai.
My name is Paul.
I’m a student.
I live in Bangkok.
I love Thailand very much.
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน
แม้จะไม่มีกริยาวิเศษณ์บอกเวลาก็สามารถรู้ได้ว่า
ข้อเท็จจริงทุกอย่างยังเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงเหล่านี้
แม้จะมีความเป็นจริงที่ครอบคลุมขอบเขตของเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน
แต่สิ่งที่สำคัญคือในปัจจุบัน ในตอนนี้สิ่งที่พูดออกมานี้ คือข้อเท็จจริง
“เป็นข้อเท็จจริง...ที่เห็นและเป็นอยู่” และนี่คือธรรมชาติของประโยคแบบ Present
Simple Tense
ประโยคใน
Present Simple Tense
จะชี้ให้เห็นว่ากริยาในรูป Present Simple
ใช้บรรยายเรื่องราวอันเป็นข้อเท็จจริง ที่เห็นและเป็นอยู่
ตัวอย่างเช่น The sun rises in the east and sets in the west.
Paris is in France.
Birds fly.
Fire is hot.
จะเห็นได้ว่าประโยค Present Simple Tense พวกนี้ก็เป็น Fact เช่นเดียวกัน
เป็นข้อเท็จจริงเสมอหรือเป็นจริงในระยะเวลาที่ยาวนานมาก ถึงแม้ “เวลา” ของความเป็นปัจจุบันจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของ
Present Simple Tense แต่ “เวลา”
ก็ไม่ใช่สาระสำคัญของ Tense นี้เสมอไป
ในบางสถานการณ์เราไม่สนใจหรือให้ความสำคัญเลย ตัวอย่างต่อไปจะแสดงให้เห็นว่า Present
Simple Tense เน้นที่ Fact หรือข้อเท็จจริง อย่างเด่นชัดและไม่จำเป็นเสมอไปด้วยว่า Tense นี้จะต้องใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
The
flight leaves Chiang Mai for Bangkok at 6.00 p.m. tomorrow.
เหตุการณ์เป็นอนาคตชัดๆ ที่เราสามารถใช้รูปกริยา Present Simple มาพูดได้
เพราะเราสนใจที่ข้อเท็จจริงที่แน่นอนไม่สามารถเปลี่ยนเที่ยวบินได้
หากนำมาใช้ผู้พูดมองและคิดไปที่ความแน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
และขอยืนยันว่า Present Simple Tense
แม้จะใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป
เพราะหัวใจมันคือการพูดถึงข้อเท็จจริง ที่เห็นและเป็นอยู่ (ซึ่งอาจจะหมายถึงกรณีที่เป็นอดีต)
หรือเป็นข้อเท็จจริงที่มีความแน่นอน (แม้จะเกิดในตอนที่เป็นอนาคตก็ตาม)
ธรรมชาติของ
Past Simple Tense ในหัวข้อต่อไปนี้
จะช่วยขยายความให้เข้าใจสันดานของ Present Simple Tense เพิ่มขึ้น ต่อไปเราจะดู Past Simple Tense กัน รูปร่างหน้าตาของ Past Simple Tense คือ มีประธานมาตัวหนึ่งแล้วก็มีกริยาช่อง 2 (Past
Tense: S + V.2) ใน Simple Tense ใช้บรรยาย Fact ที่เป็นเหตุการณ์เดี่ยวที่สมบูรณ์ในตัวเอง
โดยปกติทั่วไปเมื่อพูดถึง “Past Simple”
เรามักจะนึกถึงคุณสมบัติในด้าน “เวลาที่เป็นอดีต” ตัวอย่างเช่น
Christopher Columbus discovered America in 1492.
John
swam in the river every day when he was a child.
Sanimsoy
went to Italy 3 years ago.
ประโยค Past Simple เหล่านี้เป็นการพูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต
มันได้เกิดและจบไปแล้ว มันผ่านพ้นไปแล้ว เป็นการมองเหตุการณ์ในแง่ของ “เวลา”
ที่อยู่ห่างจากความเป็นปัจจุบันเวลาที่เจอรูปประโยคแบบ Past Simple สิ่งที่น่าจะผุดขึ้นมาในความคิดเป็นอันดับแรกเลย คือ
“เหตุการณ์นั้นมันเคยเกิดขึ้นและผ่านพ้นไปแล้วเป็นเรื่องในอดีตไปแล้ว
ห่างไกลจากตอนนี้ ปัจจุบันนี้” (ในความรู้สึกของคนพูด)
มีบ้างเหมือนกันที่เขานำเอากริยาช่อง 2 ของ Past
Simple มาใช้กับเหตุการณ์ซึ่งหน้าปัจจุบัน
ทั้งๆที่เหตุการณ์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับอดีตแต่อย่างใด เช่น
Can you tell me the time?
Could
you tell me the time?
ประโยคทั้งสองประโยคใช้ถามเวลาคนที่มีนาฬิกาบนข้อมือ มีความหมายว่า
ช่วยบอกหน่อยว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว และประโยคหลังมีความสุภาพกว่า เพราะว่า
มันเป็นความสุภาพที่ติดมากับธรรมชาติของกริยาช่อง 2 ได้แก่ Could
นั่นเอง (Can Could = สามารถ)
หากผู้ใดรู้สึกเป็นกันเองกับคนที่พูดด้วย เขาเลือกใช้ Can ที่มีธรรมชาติของคนที่ใกล้ชิดเป็นกันเอง
แต่ถ้ายังไม่สนิทกันควรเลือกใช้ Could ซึ่งมีธรรมชาติของความห่างในด้านความสัมพันธ์และมีความสุภาพมากกว่า
Past Simple นอกจากจะใช้กับเหตุการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว
(ซึ่งเป็นความห่างในแง่เวลา) ยังมีการใช้เพื่อแสดงถึงความสุภาพของภาษาที่สะท้อนออกมาผ่านธรรมชาติในเรื่อง
“ความห่างของความสัมพันธ์” ได้อีกหนึ่งกรณี นั้นเวลาเลือกใช้ Tense ในการสื่อสารผู้พูดจะเลือกใช้กริยาแบบ Present Simple กับเหตุการณ์ที่เขารู้สึกว่ามีความใกล้ (ในแง่ของความแน่นอน)
ให้ความรู้สึกถึงความมั่นใจที่สูง แต่จะใช้ Past Simple
เมื่อเขารู้สึกว่ามีความแน่นอนหรือมีความมั่นใจที่น้อยกว่า
(เหมือนอยู่ห่างไกลไม่ค่อยมีหวัง)
การเลือกใช้ Tense แบบใดในการสื่อสารก็คือ
ให้ดูที่ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดต่อเหตุการณ์นั้นเป็นสำคัญ
แล้วจึงค่อยเลือกใช้ Tense ให้สอดคล้องกันตามสันดานของ Tense นั้นๆ ที่เลือกมา และผ่านมาไปแล้ว 2 Tense คงเห็นแล้วว่าไม่ยาก
อันดับต่อไปก็คือ Future Simple Tense
“Future Simple
Tense” มีหน้าตาคือ “S
+ will + V.inf.” Tense นี้แม้มีกริยาช่วยคือ will
(หรือ shall) เพิ่มขึ้นมาแทนที่จะเป็นคำกริยาแบบโดดๆที่ธรรมดา
แต่ต้องนำมันมารวมกลุ่มกันไว้ตรงนี้
โดยปกติเมื่อจะพูดถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต Tense นี้ เพราะใช้ง่ายรูปกริยาไม่ซับซ้อน เพียงแค่เพิ่ม will หรือ shall เข้ามาเป็นกริยาช่วยนั่นเอง
Tense นี้ไม่มีอะไรยุ่งยากถ้าหากทำตามความนิยมสมัยใหม่
เพราะเพียงเอา will มาวางหลังประธานของประโยคแล้วต่อด้วยกริยาที่ยังไม่ได้ผันใดๆทั้งสิ้น
(ในภาษาไวยากรณ์เรียกว่า infinitive) ก็จะได้ประโยคเพื่อใช้สื่อความหมายถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่เราต้องการจะบอกทันที
(โดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ shall ตาม I หรือ We แบบเก่าเลย) เช่น
I will open the window. It’s too dark here.
She
will help me doing my work.
If
you invite him, he will come.
The
phone is ringing. I will answer it.
ไม่ว่าประธานของประโยคจะเป็นอะไร
จะใช้ will เป็นกริยากับประธานในทุกกรณี สำหรับ Tense
นี้ หากเดินตามหลักไวยากรณ์แบบเก่าของอังกฤษแล้วประธาน I หรือ We จะต้องใช้กริยาช่วยว่า Shall แทนที่จะใช้คำว่า will แบบประธานตัวอื่นๆ
ตัวอย่างเช่น
I shall open the window. It’s too dark here.
If
you invite me, I shall come.
I
shall not sleep until it is done.
We
shall study German next year.
ในกรณีของการเลือกใช้
will กับประธานทุกตัวตามหลักไวยากรณ์สมัยใหม่
นอกจากเหตุผลในเรื่องของ “ความนิยม” ของคนส่วนใหญ่แล้ว ผลดีตามมาที่จะได้คือ
“ความง่าย” ของการใช้ในโลกของความเป็นจริง ในบางสถานการณ์หากใช้ Shall เป็นกริยาช่วยผูกประโยค
ความหมายของประโยคดังกล่าวอาจไม่ได้สื่อความเป็นอนาคตอย่างกรณีของ will ก็ได้ เช่น
Shall I visit you this evening?
Shall
we go to the cinema tonight?
จะเห็นว่าความหมายแท้ๆของสองประโยคนี้ผู้พูดไม่ได้ต้องการจะสื่อถึงความเป็นอนาคต
หากใช้ในการขออนุญาต (ผมไปเยี่ยมคุณเย็นนี้ได้ไหม) และถามความเห็นหรือชักชวน
(คืนนี้เราไปดูหนังกันไหม) ฉะนั้น หากเราต้องการจะใช้ Tense นี้สื่อความหมายถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ในอนาคต
การใช้ will กับประธานของประโยคทุกตัวเลย
จะง่ายกว่าและไม่ต้องกลัวพลาด ที่ยิ่งกว่าง่ายกว่าเดิมคือ แทนที่จะเขียนด้วยคำว่า will
เต็มๆ ก็ไปใช้รูปย่อ แบบมี Apostrophe เลยทุกตัวแบบนี้
I’ll open the
window.
She’ll help me
doing my homework.
การใช้รูปย่อง่ายและเป็นที่นิยมกันมาก
การใช้รูปย่อและออกเสียงตามนี้จะเป็นที่นิยมทำกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด
และต่อไปเรายังต้องรู้จัก Continuous อีก 3 กลุ่ม
Present Continuous Tense หน้าตาคือ S + is/am/are + V.ing Tense นี้ใช้พูดถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ในปัจจุบัน
โดยดูได้จากคำว่า Present (ปัจจุบัน) และ Tense นี้มีคุณสมบัติของความต่อเนื่องของเหตุการณ์นั้นๆ
โดยดูจากคำว่า Continuous (ต่อเนื่อง) คุณสมบัติของความเป็น Present ใน Tense นี้
เข้าใจง่ายๆเพราะพุ่งความสนใจที่เวลาในปัจจุบันใช้สื่อความว่า
ฉากเหตุการณ์ที่อ้างถึงนั้นเกิดขึ้นในตอนนี้ ขณะนี้เลย ส่วนสมบัติของความเป็น Continuous
นั้น เพื่อความกระจ่าง
เราต้องทำความเข้าใจธรรมชาติพื้นฐานสามประการของมันนั่นคือเหตุการณ์นั้นต้อง
1) เป็นเรื่องชั่วคราว (Temporary)
2) มีช่วงระยะเวลา (Duration)
และ
3) ยังไม่สิ้นสุดลง (Unfinished)
ในเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องราวชั่วคราว
คือไม่ใช่กิจกรรมที่ทำอย่างถาวรยาวนาน นั่นคือ เมื่อผู้พูด
ใช้ Continuous Tense กับเหตุการณ์ใดเขาจะรู้สึกกับเหตุการณ์นั้นว่ามันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว
Temporary ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
ไม่ใช่สถานการณ์ที่ถาวรยืนยง (Permanent)
เพื่อให้ง่ายกับการทำความเข้าใจ ดูตัวอย่างดังนี้ John เป็นขาวอเมริกัน
เขามาทำงานเป็นครู สอนภาษาที่ จ.อุบลราชธานี
ที่นี่ชาวบ้านจะเรียกเขาด้วยชื่อที่แตกต่างกันไป บ้างเรียกว่า บักจ้อน
และบางคนก็เรียกอย่างเต็มยศว่า ขจรศักดิ์ แต่ไม่ว่าใครจะเรียกเขาอย่างไรก็ไม่มีผลต่อการเรียนรู้
Tense สิ่งที่ควรใส่ใจคือ
รูปกริยาที่เขาใช้ในการสร้างประโยคเพื่อตอบคำถาม คือ
I am living in Udornthani.
I
live in U.S.A.
ประโยคแรกต่างกับประโยคที่สอง
คือ ความรู้สึกนึกคิดของ John ผู้ตอบคำถามนั้นเอง เมื่อ John
คิดว่าการอาศัยอยู่ที่อุดรธานีเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
เขาจะเลือกใช้รูปกริยา Present Continuous มาสื่อความว่า I
am living in Udornthani.
รูปกริยานี้บอกให้รู้ว่านี่คือเหตุการณ์ชั่วคราว (ตามความคิดของ John เมืองอุดรธานีไม่ใช่ที่อยู่ถาวรสอนเสร็จก็จะกลับประเทศ USA) และประโยคที่ว่า I live in USA. นั่นก็เพราะว่าเขาต้องการจะบอกให้รู้เป็นนัยว่าอเมริกาคือที่ที่เขาตั้งใจว่าจะใช้ชีวิตอยู่เป็นการถาวร
เพื่อความชัดเจนในเรื่องความชั่วคราวและถาวรของสอง Tense ที่แตกต่าง
ขอให้ดูอีกตัวอย่างหนึ่งครับ เป็นตัวอย่างจากเรื่องราวของหนุ่ม John หรือบักจ้อนคนเดิมนี่เอง แต่ว่าราวนี้มีตัวละครน้องนางเป็นตัวเสริมเพิ่มบทบาทขึ้นมาอีกตัว
Present Continuous จะมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาว่าเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเป็นการชั่วคราว
แต่ Present Simple ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นจะเกิดนานแค่ไหนก็ได้ไม่มีขีดจำกัด
ธรรมชาติที่ตามติดมากับความเป็น
Continuous เสมอๆอย่างที่สองก็คือ
เหตุการณ์นั้นต้องเป็นเหตุการณ์ที่ “ดำเนินต่อเนื่องอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง”
ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบทันทีในชั่วพริบตาหรือชั่วขณะเดียว เช่น Malee
is dancing. การกระทำของมาลีนี้ใช้รูปกริยาแบบ Present
Continuous มาบรรยายได้ (บอกให้รู้ว่าเธอกำลังทำอะไรในตอนนี้)
การร่ายรำเป็นเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบเพียงชั่วพริบตาเดียว ด้วยลีลาอันสง่างามของการำแบบไทยเช่นนี้จำเป็นต้องมีช่วงระยะเวลา
แต่ถ้าเหตุการณ์ใดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด
เกิดขึ้นเพียงชั่วพริบตาเดียวก็ไม่สามารถใช้กริยาแบบ Continuous Tense ได้เพราะขาดการมีช่วงระยะเวลาแบบ Continuous เช่น
การสะบัดขว้างมีดบินจอมยุทธ นอกจากการเกิดเหตุการณ์แบบฉับพลันนั้นมันเกิดต่อเนื่องซ้ำๆกันหลายครั้งจนทำให้เกิดระยะเวลา
เช่น จอมยุทธสะบัดมีดขว้างมีดบินหลายเล่มติดต่อกัน
หัวใจหรือธรรมชาติของ
Present Continuous อย่างที่สามคือ
ในขณะที่พูดนั้นเหตุการณ์ยังไม่สิ้นสุดลง เช่น I am studying at Nakorn Si
Thammarat Ratjabhat University (กำลังเรียนอยู่ ยังเรียนไม่จบ)
สรุปว่า หัวใจธรรมชาติที่เป็นธาตุแท้ของประโยคแบบ Present
Continuous คือ
การกระทำนั้นต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่มีลักษณะ
เป็นเรื่องราว มีช่วงระยะเวลา และยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น
หน้าที่หลักตามสันดานหรือธาตุแท้ของกริยาแบบ Present Continuous Tense คือ
ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันโดยเหตุการณ์นั้นมีลักษณะเป็นเรื่องชั่วคราว
มีช่วงระยะเวลา และยังไม่สิ้นสุดลง และนอกจากหน้าที่หลักที่เรารู้จักกันดีนี้แล้ว
มันยังทำหน้าที่อีกบทบาทหนึ่งด้วย
จะถือว่าเป็นหน้าที่รองหรือเป็นงานเสริมของมันก็ได้ คือ
เราสามารถใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้
โดยมักจะถูกใช้กับกรณีที่ได้มีการเตรียมหรือวางแผนไว้ล่วงหน้า (Preplanning)
Past
Continuous Tense จะพูดถึงเหตุการณ์ที่มีลักษณะ เป็นเรื่องชั่วคราวดำเนินต่อเนื่องอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
และ ณ เวลาที่อ้างถึงนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด ประโยชน์ของ Tense
นี้เป็นเวลาในอดีต (Past)
มันจึงถูกนำมาใช้เล่าเรื่องในอดีตกาล
และด้วยคุณสมบัติของการมีช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์นี่เอง Past Continuous
Tense จึงถูกใช้เป็นประโยคเปิดเพท่อให้เหตุการณ์อื่นๆเกิดแทรกมา
ในระหว่างช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น เช่น It was raining very hard last
night. รูปประโยคอย่างนี้ทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหวคล้ายฉากในหนัง
โดยปกติแล้วมักมีเหตุการณ์อะไรสักอย่างเกิดแทรกขึ้นมาระหว่างฝนตก เช่น
It was raining very hard when John came home last
night.
ตอนที่จ้อนกลับบ้านเมื่อคืนวาน
ฝนกำลังตกหนักเชียว
(เวลาที่อ้างถึงเมื่อคืนวานนี้
ตอนที่จ้อนกลับบ้านในตอนนั้นฝนยังตกไม่หยุด)
บทบาทหน้าที่ของ
Past Continuous Tense ตรงนี้ถือว่าครบถ้วนสมประโยชน์แล้ว
ส่วนจะมีเหตุการณือะไรเกิดขึ้นต่อจากนั้น การใช้ประโยคแบบ Past Continuous เป็นประโยคเปิด (opening up) เพื่อให้เหตุการณ์อื่นเกิดขึ้นแทรกขึ้นมานี้
บางครั้งอาจมีหลายๆเหตุการณ์ เกิดตามกันมาเป็นระยะๆ ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว เช่น มาลีเป็นคนสวยใจดีนอกจากรำสวย
เธอยังสีไวโอลินได้เพราะจับใจ ถ้าเราจะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ให้ใครฟังอีกที
โดยใช้กริยารูแอดีตกาลเราอาจเล่าในลักษณะของการบอกข้อเท็จจริงนี้ให้เขาฟังว่า
Yesterday, Malee played violin for Dokrug, the buffalo.
นี่เป็นการเล่าแบบเป็นสถานการณ์เดี่ยวที่จบในตัวอย่าง
Past Simple ทอดข้อมูลให้ฟังอย่างถ่าย ถ่ายแชะเดียวจบ
ทีนี้เติมรายละเอียดลงไปขณะที่มาลีสีไวโอลินให้ความฟังอยู่นั้น
ได้มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจหลายอย่างเกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว
ธรรมชาติในเรื่องความมีช่วงเวลา (Duration) ของ Past
Continuous จะถูกนำเข้ามาใช้ในการเล่าเรื่อง เช่น
While Malee was playing violin for Dokrug, the buffalo smiled, then
sighed, then cried sadly and finally fell asleep.
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของ
Tense ในกลุ่มนี้ที่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวต้องไม่สิ้นสุด ณ
เวลาที่อ้างนั้น
ยังอาจนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเปิดโอกาสให้เหตุการณ์แบบหักมุมที่ไม่คาดคิกมาก่อนได้เกิดขึ้น
ตามมาได้ด้วย เช่น They were fighting. Kamchai was winning.
ขณะการต่อสู้ยังไม่จบ เมื่อครบห้ายกสถานการณ์อาจพลิกผัน
กำชัยอาจเป็นฝ่ายแพ้ก็ได้ จะเห็นว่าธรรมชาติของความที่ยังไม่เสร็จสิ้นลงของเหตุการณ์ซึ่งกำลังดำเนินอยู่นี้เอง
เปิดโอกาสให้การพลิกผันของสถานการณ์สามารถเกิดขึ้นได้ นั่นคือ บรรลัยกัลป์
(ฝ่ายน้ำเงิน) อาจเป็นฝ่ายชนะหลังจากนั้น
ตัวอย่างเช่น When Natalie
came into the Ratchadumnuen Stadium, they were fighting. Kamchai was
winning. But when the fight came to an
end, Banlaikan won.
บทบาทหน้าที่ของ Past Continuous ยังไม่หมดเพียงนี้
นอกจากการใช้ในสองลักษณะที่ผ่านมาแล้ว ก็ยังใช้กริยารูปนี้ได้อีกกรณีหนึ่งคือ
ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันสองเหตุการณ์ที่ดำเนินควบคู่ไปพร้อมๆกันอย่างต่อเนื่อง
เช่น While Malee was dancing, Plafia was playing the music.
รูปประโยคแบบ
Past Continuous มีประโยชน์คือใช้เล่าเรื่องในอดีต
โดยทำหน้าที่เป็นฉากหลังให้เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรือหลายๆเหตุการณ์
เกิดแทรกขึ้นมาระหว่างกลางของ Past Continuous นั้น
เปิดโอกาสให้มีเหตุการณ์หักมุมเกิดขึ้น โดยใช้ธรรมชาติในเรื่องการยังไม่สิ้นสุดของ
Past Continuous นั้นให้เป็นประโยชน์
ใช้บรรยายเหตุการณ์ในอดีตสองเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินควบคู่กันไปพร้อมๆกัน
Future Continuous Tense มีหน้าตาคือ S +
will,shall + be + v.ing หลักการพื้นฐานของ Tense นี้ไม่มีอะไรใหม่แต่อย่างใด คุณสมบัติของ Continuous สามประการยังอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์เช่นเดียวกับสอง Tense ก่อนหน้า
ต่างกันตรงที่เวลาที่อ้างถึงซึ่งเป็นฉากของเหตุการณ์ที่เราสนใจของ Tense นี้เป็นเวลาในอนาคตเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น Tomorrow, from 10 to 11 o’clock I will be working. Please
do not come during that time. โปรดสังเกตว่า ใช้ Future
Continuous มาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมัน คือ
เอาธรรมชาติของความต่อเนื่องอยู่ช่วงหนึ่งของเหตุการณ์ในอนาคตรูป Future
Continuous มาเป็นฉาก (การทำงาน)
แล้วเปิดโอกาสให้เหตุการณ์เดี่ยวที่สมบูรณ์ในตัวเองเข้ามาแทรกขัดจังหวะระหว่างกลาง
(การแวะมาหา)
Present Perfect Tense มีหน้าตาคือ S + has/have
+ v.3 สันดานของประโยค Present Perfect Tense
จะมีลักษณะที่สำคัญสองอย่าง คือ 1.เป็นการมองย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ในอดีตจากเวลาในปัจจุบัน
และ 2.
เหตุการณ์นั้นจะต้องเกี่ยวโยงส่งผลกับปัจจุบันเสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
Klangjai has studied French in France and Italian in Italy. Now she
speaks French and Italian fluently. รูปกริยา has studied
(had + V.3) ซึ่งเป็นรูปกริยาของประโยค Present Perfect นี้สื่อความหมายให้รู้ว่า การศึกษานี้ได้ทำผ่านไปแล้ว
เป็นการกระทำที่เกิดขี้นในอดีตโดยมองไปจากเวลา ณ ปัจจุบัน
และการศึกษาภาษาฝรั่งเศสกับอิตาเลียนที่ได้กระทำผ่านไปแล้วนั้น มีผลเกี่ยวโยงกับปัจจุบันตรงที่มันได้ส่งผลให้กลางใจพูดทั้งสองภาษาได้อย่างคล่องแคล่วในตอนนี้เอง
Present
Perfect ชอบเป็นฉากหลังให้ Present Simple ด้วยธรรมชาติของ
Present Perfect ข้อนี้เองจึงถูกนำมาใช้เป็นประโยนำที่มีเนื้อความในลักษณะครอบคลุมแบบกว้างๆ
เพื่อระบุช่วงเวลาจากจุดจุดหนึ่งในอดีตยาวมาจนถึงปัจจุบันเปิดโอกาสให้ใส่เนื้อความ
(ที่อยู่ในรูป Present Simple Tense) แทรกลงไปเป็นรายละเอียดในช่วงกลางว่าเหตุการณ์ใดได้เกิดขึ้นมาบ้างในระหว่างช่วงเวลานั้น
Past Perfect Tense หน้าตาคือ S + had + V.3 โดย Tense นี้จะต้องมี V.to have กับกริยาช่อง 3 แน่ๆเห็นได้จากคำว่า Perfect ส่วนคำว่า Past จากชื่อของมันก็เป็นตัวกำหนดว่า v.to
have ใน Tense นี้จะต้องเป็นช่อง 2 ก็คือ had นั่นเอง ธรรมชาติการใช้ของมันคือ 1.มองเหตุการณ์ย้อนกลับไปยังอดีตก่อนหน้านั้น 2.เหตุการณ์ที่พูดถึงมีความเกี่ยวโยงมายังจุดเวลาอ้างถึง
(Time of Reference) ตัวอย่างเช่น Klanjai met her
boyfriend 4years ago after she had finished her studied in France. (การจบการศึกษาในฝรั่งเศสขอบกลางใจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนหน้า
และผลเกี่ยวโยงที่ตามมาคือเธอได้พบกับแฟนเมื่อสี่ปีก่อน) ไปดู
Tense ต่อไปมันเป็นอนาคตหรือ Future เท่านั้นเอง
Future Perfect Tense หน้าตาคือ S + will + have
+ V.3 โดย have เป็นทั้งกริยาที่ยังไม่ได้ผันให้ความเป็น
Future และเป็นทั้ง V.to have ให้ความเป็น
Perfect ในเมื่อ Tense นี้เป็นทั้ง Perfect
ผสม Future มันจึงต้องใช้บรรยายเหตุการณ์จากจุดยืนในอนาคตแล้วมองย้อนกลับมายังเวลาก่อนหน้านั้น
ตัวอย่างเช่น Now klangjai speaks French and Italian. She plans to study
German next year. In 3 years, she will have mastered 3 languages. จุดเวลาที่อ้างถึงอีก 3 ปีข้างหน้าในอนาคต ณ
จุดตรงนั้นจะเกิดผลลัพธ์เป็นอย่างไร
เมื่อมองย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ทั้งหลายก่อนหน้า
ก็จะรู้ว่านั่นแหละคือผลสำเร็จที่จะได้รับอันเกี่ยวเนื่องกัน หากเข้าใจ Tense
นี้แล้วที่เหลืออีก 2 Tense ก็แทบไม่ต้องออกแรง
Present Perfect Continuous Tense หน้าตาคือ S +
has/have + been + V.ing ธรรมชาติของ Present Perfectได้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญอันจะขาดเสียมิได้คือ have หรือ has ตัวใดตัวหนึ่งตามด้วยกริยาช่อง 3 เสมอ ส่วน Continuous ก็ต้องมี V.to be ตัวใดตัวหนึ่งตามด้วยกริยาเติม ing เสมอ
เช่นเดียวกัน จะเห็นว่า been ทำหน้าที่เป็นกริยาช่อง 3 ให้กับ Present Perfect และเป็นทั้ง V. to
be ให้กับ Continuous ด้วย ในเวลาเดียวกัน
ตรงนี้คือจุดที่ 2 Tense มารวมกันเป็น Tense
เดียวกัน ตัวอย่างเช่น I have been waiting for
Natalie since 6.00 pm. (Now, it’s 9.00 pm.) Tense นี้ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตโดยเหตุการณ์ที่ว่านั้นมีความเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบันและเหตุการณ์
ดังกล่าวนั้น ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยังไม่สิ้นสุดลง มันยังคงดำเนินอยู่ต่อไป
Past Perfect Continuous Tense หน้าตา S + had +
been + V.ing Tense นี้มีลักษณะพื้นฐานเหมือนๆกับ Present
Perfect Continuous
ที่ผ่านมาทุกประการต่างกันแค่เวลาที่อ้างถึงเท่านั้นเอง กล่าวคือ
เวลาที่อ้างถึงของ Past Perfect Continuous
จะเป็นเวลาในอดีตแทนที่จะเป็นปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น Yesterday, I had been
waiting for her for three hours, then, she called me and told me that she would
come half an hour late. (ทั้งการคอยของผมและการโรศัพท์ของเธอเกิดขึ้นในอดีตคือเมื่อวานนี้
ผมรอคอยเธออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสามชั่วโมง แต่เธอก็ยังไม่มา
แล้วโทรมาบอกว่าจะมาสายกว่าเดิมอีก ทำให้ผมต้องรอเธอต่อไปอีกตั้งนาน)
Future Perfect Continuous Tense หน้าตาคือ S +
will + have + been + v.ing ธรรมชาติการใช้ของ Tense นี้คล้ายกับ Present Perfect Continuous และ Past
Perfect Continuous ที่เพิ่งจะผ่านไปต่างกันตรงที่เวลาที่อ้างถึงของ
Tense นี้เป็นเวลาในอนาคตแทนที่จะเป็นปัจจุบันหรืออดีต
ตัวอย่างเช่น I will have been studying English for three hours by the
time you get home tonight. (และยังจะเรียนต่อไป แม้คุณจะกลับมาแล้ว
ผมก็ยังจะไม่เลิก) By next month, they will have been living in this
house for live years. (แม้จะอยู่ครบห้าปีในเดือนหน้า
พวกเขาก็จะยังไม่ย้ายออกไปไหน ค่าเช่าบ้านก็ไม่จ่ายอยากได้ทวงเอาเอง)
เป็นอันว่าเราได้ทำความรู้จักกับ
Tense ทั้ง 12 Tense อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
(พร้อมทั้งของแถม be + going + to + V.inf.) คงเห็นแล้วว่าธรรมชาติอันเป็นธาตุแท้หรือสันดาน
Tense เป็นสิ่งสำคัญ
หากเข้าใจแก่นแท้ของมันแล้วเราจะไม่สับสนกับการเลือกใช้ Tense ในการสื่อสารอีกต่อไป เพื่อการเข้าใจ เราควรนำไปใช้ได้จริงกับกริยาตัวเดียวกันแล้วเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบจะทำให้เห็นความแตกต่างและความเหมือน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ความเข้าใจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้
Tense
ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสอดคล้องกันกับความต้องการของเราในชีวิตจริง