วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log ในห้องเรียน (Oct 6th , 2015)

Learning log (ในห้องเรียน)
(Oct 6th , 2015)
                Noun clause คือ subordinate clause ทำหน้าที่เป็นคำนามของประโยค จะเป็นภาคประธาน กรรม กรรมของบุพบท และส่วนเติมเต็ม Noun clause จะมีคำเชื่อม 3 กลุ่มคือ 1.Wh-words 2.Whether และ 3.That โดย Noun clause ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของคำถาม เพราะ subject จะอยู่หน้า verb เสมอ ทำให้เราไม่ต้องเติม question mark (?) ต่อท้าย และ Noun clause ที่เป็นประธาน จะเป็นประธานเอกพจน์เสมอ
                Noun จะทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม subject complement และอยู่หลังคำบุพบท (preposition) ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนกับ Noun clause และ Adjective clause ต่างกับ Noun clause คือ ตำแหน่งที่อยู่แตกต่างกัน Adj. มีหน้าที่ขยายคำนาม ซึ่งคำนามนั้นอาจจะเป็น Subject, object แต่ใน Noun clause ไม่มีหน้าที่ไปขายใคร มันจะทำหน้าที่เป็น Subject, Object เอง
                Noun clause มีเอกลักษณ์อยู่ 2 อย่าง คือ เชื่อมด้วย relative pronoun ได้แก่ who, whom, which, where, when, why, that, what, whether และ if ยังมี how และ how+ adj. หลัง question word จะต้องตามด้วยกริยาแท้ ตำแหน่งของ Noun clause จะอยู่หน้าหรือหลังคำกริยาหรือหลังคำบุพบท ตัวอย่างเช่น

                -I don’t know what you say. (ฉันไม่รู้สิ่งซึ่งคุณพูด)
                - Where Tom went is a secret. (ที่ซึ่งทอมไปเป็นความลับ)
                - What you do is nice. (สิ่งที่คุณทำมันเยี่ยมมาก)
                - Jim said that he would go. (จิมพูดว่าเขาจะไปแล้ว)
                ประโยค Jim said that he would go. เป็นประโยค reported speech ประโยคนี้จิมพูดกับเรา และเราได้นำไปเล่ากับคนอื่น ซึ่ง reported speech คือ การนำเอาคำพูดของคนอื่นมาเล่าอีกที่ หลักการคือ 1.)เปลี่ยน tense ให้เป็น more past เช่น present simple ให้เปลี่ยนเป็น past simple, past simple เปลี่ยนเป็น past perfect และ present unreal เปลี่ยนเป็น past unreal  หลักการข้อที่ 2. เปลี่ยน pronoun ให้เหมาะสม เช่น ฉันถามคุณว่าคุณชื่ออะไร แล้วเพื่อนมาถามต่อว่าเพื่อนถามคุณว่าคุณขื่ออะไร pronoun ที่ใช้ควรเหมาะสมและถูกต้อง 3. เปลี่ยนจากใกล้ไปไกล หรือใหม่ไปเก่า เช่น เวลาเราคุยกันยืนที่นี่ ตอนเอาไปเล่าให้คนอื่นเราไม่ได้ยืนอยู่ที่นี่ ดังนั้นเราต้องบอกว่า เราคุยกันที่นั่น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดจะไกลขึ้น อีกอย่างหนึ่งคือก็คือเก่าขึ้น เช่น ถ้าเราบอกว่าคุยกันวันนี้ และถ้าเราเอาไปเล่าให้คนอื่นฟังเราไม่ได้ยืนอยู่ที่นี่ เราจะต้องพูดว่า เราเคยคุยกันที่นั่น หรือวันนี้เป็นวันนั่น คำที่เราต้องเปลี่ยนไปคือ adverb of time และ adverb of place 4. เพิ่มเติมอื่นๆขึ้นอยู่กับเปลี่ยนรูปแบบการสนทนาว่าเป็นบอกเล่า คำถาม คำสั่ง หรืออุทาน
                ตัวอย่างประโยคบอกเล่า เช่น
                -Tony told his sister “My car would be bigger if you lent your money.” Direct speech ประโยคที่เขาพูดจากสัญลักษณ์ “ ” เปลี่ยนเป็น indirect speech คือ Tony told his sister (that) his car have been bigger if she had lent him her money. (โทนี่พูดกับพี่สาวขอเขาว่ารถของเขาจะใหญ่กว่านี้ถ้าเธอให้เขายืมเงิน)
                - Adam said to Penny I haven’t seen your mother visiting this shop since last month. เปลี่ยนเป็น indirect speech คือ Adam said to Penny he had not seen her mother visiting that shop since the month before that month. (อดัมพูดกับเพนนีว่า เขาไม่เจอแม่ของเธอที่ร้านนั้นเมื่อเดือนก่อนนู้น)
ตัวอย่างประโยคคำถามเป็นประโยคบอกเล่า เช่น
-John asked his wife “What have you been doing all day today?” เปลี่ยนเป็นประโยคบอกเล่า Henry enquired Mike whether/if he would come to that place the week after that week.
ในประโยค noun clause คำว่า whether/if แปลว่า หรือไม่ เท่านั้น และใช้ในกรณีที่เปลี่ยนจากประโยคคำถามเป็นบอกเล่าและหลักการเปลี่ยนประโยคคำถามเป็นบอกเล่าใน reported speech จะต้องเปลี่ยน tense เป็น tense ที่เก่ากว่า และเปลี่ยน pronoun ให้ถูกต้อง
อีกเรื่องที่เราต้องระวังใน noun clause คือ that ใน adj. clause เราสามารถใช้  that แทน relative pronoun ตัวอื่นๆได้ แต่ใน noun clause เราไม่สามรถนำ that ไปแทน relative pronoun ตัวอื่นได้เลยเพราะความหมายไม่เหมือนกัน เช่น
- Henry suggested what he would do. (เฮนรี่แนะนำว่าเขาจะทำอะไร)
- Henry suggested that he would do.  (เฮนรี่บอกว่าเขาจะทำ)
คำว่า that ใน noun clause จะหมายถึง ว่า โดยทำหน้าที่เป็น object หรือถ้า that อยู่หน้า subjectคำว่า that ใน noun clause หมายถึง เรื่องที่ว่า

ตัวอย่างเช่น
-                   That world ends would never be true. (เรื่องที่ว่าโลกจะสิ้นสุดมันเป็นความจริง)
-                   It would never be true that world ends. (ประโยคแบบ expletive “to”)
ใน adjective clause เรานำ that มาใช้แทน Relative Pronoun ได้ทุกตัว ยกเว้น การขยาย noun ที่เป็นคน ใน noun clause ไม่ได้ใช้แทนคำใด ซึ่งจะมีความหมายในตัวมันเอง หาก Noun clause เชื่อมด้วย that ข้างหลัง that จะกล่าวถึงเหตุการณ์
เรื่องสุดท้ายของ noun clause คือ subjunctive mood คือ ประโยคที่มีโครงสร้างว่า Subject+ {คำสั่ง,แนะนำ,ขอร้อง} + that clause ตัวอย่างเช่น
-                   The doctor suggested Mary that she should sleep at least 8 hours. (หมอแนะนำให้แมรี่ควรพักผ่อนอย่างน้อยแปดชั่วโมง)
-                   The doctor suggested Mary that she sleep at least 8 hours. (หมอแนะนำให้แมรี่ควรพักผ่อนอย่างน้อยแปดชั่วโมง)
-                   The doctor suggested Marry that she should not eat fatty food.
-                   The doctor suggested Marry that she not eat fatty food.
-                   Did he tell you where to put the report when you finish?
ข้อสังเกต เมื่อไหร่ก็ตาม question word ตามหลังด้วย to+V. เป็น Adj. Clause ไม่ได้เป็นได้แต่ noun clause 
ตัวอย่างประโยค noun clause ที่ได้เรียนรู้จากในห้องเรียน เช่น
-                   Who I love the most is my mother. (คนซึ่งฉันรักมากที่สุดคือแม่)
-                   Whenever you are missing of me is true. (เมื่อไรก็ตามที่เธอคิดถึงคือความจริง)
-                   That I love you is not true. (ที่ว่าฉันรักเธอไม่จริง)
-                   What I don’t like most is that you pretend. (สิ่งซึ่งที่ฉันไม่ชอบมากที่สุดคือการหลอกลวง)

Noun Clause เป็นคู่แฝดของ Adj. Clause เพราะรูปร่างหน้าตาของ noun clause เหมือนกับ adjective clause เพียงต่างกันที่หน้าที่ คือ Adj. Clause ขยาย noun ในประโยค ส่วนNoun clause ทำหน้าที่เป็น noun ดังนั้น ตำแหน่งการวางต่างกัน ประโยคเอกลักษณ์ของ noun clause คือ subjunctive mood ที่มี subject + {คำสั่ง, แนะนำ, ขอร้อง} + ประโยค โดยที่มี verb infinitive without to เสมอ