Learning log นอกห้องเรียน
(Sep 15th, 2015)
การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
มีความสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ปัญหาต่างๆ
ได้การเรียนรู้ทักษะการอ่านแบบต่าง ๆ ได้แก่ การอ่านแบบ skimming, scanning และ speed reading เมื่อรู้เทคนิคการอ่านแล้ว ผู้เรียนควรเริ่มฝึกโดยการอ่านเรื่องที่น่าสนใจเรื่องสั้นๆ
ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาและตีความหมายจากการอ่านได้ อย่างเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ
มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading )
วิธีการอ่านภาษาอังกฤษง่าย
ๆ มีอยู่ 3 อย่างคือ Skim, Scan และ Speed
เราสามารถฝึกทักษะเหล่านี้ และเลือกใช้ตามความเหมาะสม Skimming
reading เป็นการอ่านแบบคร่าว ๆ ผิวเผิน
เป็นการอ่านเพียงเพื่อให้ทราบว่าเรื่องนี้ บทความนี้ พูดถึงเรื่องอะไร
มีภาพรวมอย่างไร ส่วน Scanning reading เป็นการอ่านเพื่อหาข้อมูลเฉพาะจากบทความนั้น
ๆ ดังนั้น Skim และ Scan จึงเป็นทักษะการอ่านที่จำเป็นในการสอบ
หรือเมื่อมีเวลาจำกัด วิธีการทั้งสองอย่างนี้ จำเป็นต้องมีการฝึกฝน
เพื่อให้เกิดความชำนาญ ‘Skimming reading’ สามารถฝึกได้โดยไม่อ่านทุกคำ
Speed reading คือ การฝึกอ่านให้เร็วทำได้โดยการนำเอาเทคนิคการ Skim มาปรับใช้ นั่นคือ อ่านไปเรื่อย ๆ หากไม่เข้าใจคำใด ให้พิจารณาหาความหมายของคำ
ๆ นั้นจากบริบทของมัน แทนการเปิดพจนานุกรม
ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและสร้างความเบื่อหน่ายให้เราได้ นอกจากนี้
เราควรอ่านในสิ่งที่เราสนใจ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย
อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าหนังสืออ่านเล่น
ในภาษาอังกฤษมักจะมีการแบ่งอายุผู้อ่านไว้ก่อนแล้ว
การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง
(Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย
เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน
ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษา
อังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้
ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ
ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
การฝึกอ่านภาษาอังกฤษง่ายๆโดยเริ่มจากการอ่านป้ายโฆษณาต่างๆ
ตามข้างถนนที่เราเห็นโดยทั่วไป ลองอ่านและทำความเข้าใจว่าคำต่าง ๆ ว่าโฆษณานั้น ๆ
พยายามสื่ออะไรให้เรา จากการอ่านข้อความสั้น ๆ ก็เริ่มอ่านบทความที่ยาวขึ้น เช่น
หากชอบอ่านข่าวสาร อาจเริ่มต้นจากการอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ
โดยอาจเริ่มจากระดับไม่สูงมากนัก เช่น เริ่มจากอ่าน นวนิยายเยาวชน การ์ตูนสำหรับเด็ก
ส่วนตัวดิฉันชอบอ่านนวนิยายและเริ่มฝึกอ่านนวนิยายภาษาอังกฤษออนไลน์หลายเรื่อง
เรื่องแรกที่ดิฉันอ่านคือเรื่อง Sydney Opera
House ผู้แต่งจากเว็บไซต์ http://writer.dek-d.com/ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของออสเตรเลีย
คือ โรงอุปรากรดิสนีย์ ด้วยสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของออสเตรเลีย
โรงอุปรากรดิสนีย์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเดนมาร์ก ชื่อ Jorn Utzon และเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1973 แม้จะมีอายุเพียง 36 ปี
แต่สถานที่แห่งนี้ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกเรียบร้อยแล้ว
เรื่องที่สอง
คือ เรื่อง The Given Light ผู้แต่งจากเว็บไซต์ http://writer.dek-d.com/ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ผู้ชายคนหนึ่งได้ยินว่า ในดินแดนห่างไกล
มีไฟศักดิ์สิทธิ์ลุกโชติช่วงอยู่ เขาจึงออกเดินทางเพื่อแสวงหาไฟศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำกลับมาบ้าน
เขาคิด " เมื่อเรามีไฟนี้ เราจะมีความสุขและชีวิตที่ดี
อีกทั้งคนที่เรารักก็จะมีสิ่งเหล่านั้นด้วย" เขาเดินทางไกลมาก
และในที่สุดก็พบไฟศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเขาใช้จุดคบเพลิงตนเอง ระหว่างเดินทางกลับนั้น
สิ่งเดียวที่เขากังวลก็คือ ไฟเขาอาจดับลงการเดินทางกลับไปยังสถานที่ที่มีไฟศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นไปไม่ได้
เขาไม่มีแรงพอจะเดินทางไกลขนาดนั้น แต่เขามีแรงพอจะเดินกลับไปหาคนที่เขาช่วยเหลือไว้ระหว่างทางและด้วยไฟนั้น
เขาจะสามารถจุดไฟของตนได้อีกครั้ง
เรื่องที่สาม
คือ เรื่อง The Lindt & Sprungli Chocolate Factory Museum ผู้แต่งจากเว็บไซต์
http://writer.dek-d.com/
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เรื่องราวของเด็กชายยากจนชื่อชาร์ลีผู้ที่โชคดีได้ตั๋วทองไปเที่ยวชมโรงงานของคุณวิลลี่
วองก้า จนในที่สุดก็ได้รับเลือกให้สืบทอดกิจการของคุณวองก้าไปเลย เมื่อมาถึงสวิตเซอร์แลนด์
คุณก็สามารถสวมบทบาทคล้ายๆ หนูน้อยชาร์ลีได้
โดยการไปทีพิพิธภัณฑ์โรงงานช็อกโกแลตลินด์แอนด์สพุงลี
พิพิธภัณฑ์นี้อยู่ห่างจากตัวเมืองซูริคซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไปประมาณ
16 กม. ในพิพิธภัณฑ์จะมีการฉายวิดีโอเกี่ยวกับการผลิตช็อกโกแลต รวมทั้งมีการแจกช็อกโกแลตให้ชิมฟรีอีกด้วย
ในการอ่านนวนิยายหรือเรื่องสั้น
ถ้าอ่านตอนจบก่อน ความสนุกจะหายไปทันที
ซึ่งตรงกันข้ามกับการอ่านหนังสือเพื่อการเรียนรู้ ถ้าอ่านตอนจบก่อน
กลับจะทำให้ความสนุกในการเรียนเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อรู้ผล
สมองจะพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การอ่านนวนิยาย
เรื่องสั้นหรือนิทาน เราต้องการรู้ว่า ถ้าเหตุและปัจจัย เป็นแบบนี้ แล้ว
ผลสรุปตอนจบ จะเป็นอย่างไร แต่การอ่านเพื่อการเรียนรู้จะตรงกันข้าม คือ
ต้องการรู้ว่า ถ้าผลสรุปเป็นแบบนี้ มันมีเหตุและปัจจัย มาจากอะไร
ในการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ
ถ้าเราจับจุดถูกต้องหยิบหนังสือที่เราชอบขึ้นมาได้ละก็
เรื่องยากๆก็จะดูเป็นเรื่องสนุกสำหรับเราเลยทีเดียว ลองหาหนังสือภาษาอังกฤษที่ชอบมาอ่านซักเล่ม
แล้วจะรู้ว่าการ ฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ไม่ได้ยาก หรือน่าเบื่ออย่างที่คิดเลย
เผลอๆอาจทำให้เราเรียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นด้วย ยิ่งอ่านซ้ำหลายๆรอบ
จะช่วยทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องและเพิ่มความสามารถภาษาอังกฤษได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ