วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Short story เรื่อง New Yorkers by O.Henry

แปลเรื่อง New Yorkers by O.Henry
The Christmas Present (ของขวัญวันคริสต์มาส)
                เหลือเงินทั้งหมดหนึ่งดอลลาร์แปดสิบเจ็ดเซ็น ทุกๆวันที่หล่อนไปซื้อของหล่อนจะประหยัดเงินสุดๆ โดยเธอจะเดินไปรอบๆร้านเพื่อที่จะเลือกเนื้อและผักราคาถูกที่สุด และเธอคนนั้นชื่อว่า เดลลาร์ เดลลาร์นับเงินทั้งหมดอีกครั้ง คือ หนึ่งดอลลาร์แปดสิบเจ็ดเซ็น เพื่อที่จะได้ไม่ผิดพลาด วันไปมาเป็นวันคริสต์มาส เธอได้นั่งลงและร้องไห้ เธอไม่สามารถจัดวันคริสต์มาสในห้องเล็กๆของเธอได้ เดลลาร์ได้อาศัยอยู่ในห้องเล็กๆในนิวยอร์กกับสามีของเธอที่ชื่อว่า เจมส์ ดิลลิงแฮม ยัง ในห้องนี้มีทุกๆอย่าง ทั้งห้องนอน ห้องครัว และห้องน้ำ สามีของเธอทำงานมีรายได้เล็กน้อย และเดลลาร์พยายามหางานทำเพื่อช่วยสามีของเธอ แต่เธอยังคงตกงาน ตอนเธออยู่ที่ห้องเมื่อสามีเธอกลับมา เธอเรียกเขาว่า จิม และนวดให้เขาซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีมาก
                เดลลาร์หยุดร้องไห้และไปล้างหน้า เธอได้เดินไปที่หน้าต่างและมองออกเห็นแมวสีเทาตัวหนึ่งบนถนนเกรย์ พรุ่งนี้วันคริสต์มาส เธอมีเพียงหนึ่งดอลลาร์แปดสิบเจ็ดเซ็น เพื่อที่จะหาซื้อของขวัญให้กับสามีเธอเพียงแค่จะซื้อของขวัญชิ้นเล็กๆเพื่อที่จะแสดงความรักต่อจิม ทันใดนั้นเดลลาร์ได้วิ่งไปหยิบแก้วใบหนึ่งที่อยู่บนกำแพง เธอได้มองหาๆสิ่งๆหนึ่ง และพบกับนาฬิกาทองของจิมที่เป็นมรดกตกทอดจากรุ่นคุณปู่มาสู่พ่อของจิมและจิมก็ได้รับมันมา และสิ่งของพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ เส้นผมของเธอ เดลลาร์ได้ปล่อยผมของเธอลงมากลางหลัง เธอได้รวบเก็บผมของตัวเธออย่างรวดเร็ว วิ่งไปที่บันไดและออกไปที่ถนนเพื่อจะไปที่ร้านแห่งหนึ่ง เมื่อเธอเดินไปยืนหน้าร้านเสริมสวยของมาดามเอลลอซ รูปร่างอ้วนๆ และเดลลาร์ถอดหมวกดูผมของเธอหน่อย และมาดามตอบว่าตกลงฉันจะซื้อผมของคุณ มาดามบอกว่าเป็นผมสีน้ำตาลที่สวยมาก เดลลาร์เสนอราคายี่สิบดอลลาร์ มาดามบอกว่าตกลง และเดลลาร์บอกว่ารีบเอาผมฉันไปและให้เงินมา

Learning Log (ในห้องเรียน) (Oct 29th - 30th , 2015)

Learning Log (ในห้องเรียน)
(Oct 29th - 30th , 2015)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม
            การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ” ในครั้งนี้ของดิฉันที่มีโอกาสได้เข้าร่วมรับฟังตลอดทั้งสองวันเป็นการอบรมที่มีประโยชน์มาก ได้รับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ๆที่หลากหลายจากท่านวิทยากรที่มากความสามารถและเก่ง ได้แก่ หัวข้อแรก การเสวนาวิชาการงานวิจัยโดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว อ.สุนทร บุญแก้ว และผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ ในหัวข้อ Beyond Language Learning และหัวข้อต่อมาซึ่งเป็นหัวข้อที่จัดอยู่ในช่วงเช้าของวันแรกในการอบรม คือ ความรู้เชิงบูรณาการของครูสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่าง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเตรียมรับมือกับการสอนเด็กให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประเทศอาเซียน
                ประเด็นแรกการเสวนาวิชาการงานวิจัยโดยท่านวิทยากรทั้ง 3 ท่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ คือ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยของเรา จาก ดร.สุจินต์ หนูแก้ว ได้แก่ ทักษะที่เหมาะกับคนในศตวรรษที่ 21 คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ (critical thinking) คนในปัจจุบันสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้หลายช่องทาง แหล่งที่สามารถรับข่าวสารใกล้ตัวที่สุด คือ โทรศัพท์มือถือ มีข้อมูลให้อ่านหลากหลาย แต่ข้อมูลที่ได้รับเด็กบางคนแยกแยะไม่ได้ วิเคราะห์ไม่ได้ ว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ในกรณีตัวอย่างเช่น นำข้อสอบมาให้เด็กฝึกทำโดยข้อสอบมีการปะปนทั้ง words, phrase, sentence ให้เด็กแยกแยะจำแนก การที่เด็กจะจำแนกแยกแยะ คำเหล่านี้ได้จะต้องมีเกณฑ์การจำแนก อ.สุนทร บุญแก้ว นำภาษาอังกฤษมาปรับใช้ในห้องเรียน

Learning log (นอกห้องเรียน) (Oct 20th ,2015)

Learning log (นอกห้องเรียน)
(Oct 20th ,2015)
            การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันสามารถเลือกเรียนได้หลากหลายรูปแบบ ดิฉันเลือกวิธีการฝึกจากการดูหนังเรื่อง Slumdog Millionaire เพราการดูหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่มีสไตล์หรือพลอตเรื่องแตกต่างจากหนังฝรั่งเรื่องอื่นๆ คือ เป็นหนังที่ถูกสร้างจากผู้กำกับชาวอังกฤษ โดยใช้คนอินเดีย ประเทศอินเดียและทัชมาฮาลเป็นฉากหนึ่ง ซึ่งเนื้อหามีทั้งสนุก ตลก และเศร้าอีกด้วย
                ในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน โดยการดูหนังเรื่อง Slumdog Millionaire ผ่านทางเว็บไซต์ www.movie2free.com และฝึกฟังแบบ soundtrack ซับไทย ซึ่งจะเป็นเสียงภาษาอังกฤษและแปลไทยเป็นตัวหนังสือวิ่งด้านล่าง ดิฉันเลือกเปิดฟังแบบนี้เพราะถ้าฝึกฟังเป็นเสียงไทยจะทำให้ดิฉันไม่ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่างๆ เพื่อน-เพื่อน ลูก-พ่อแม่ เด็ก-ผู้อาวุโส และการเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละเรื่องที่แตกต่างกัน ดิฉันได้ฝึกฟังถึง 4 รอบในหนึ่งสัปดาห์
เรื่อง Slumdog Millionaire เป็นเรื่องราวกับเด็กหนุ่มยาวอินเดียและใช้อินเดียเป็นฉากหลัง เป็นผลงานกำกับของ แดนี่ บอยส์ คนทำหนังชาวอังกฤษ ทำภาพยนตร์นี้ออกมามีเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหนุ่มจากสลัมในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียที่สามารถพิชิตเงินล้านในเกมโชว์ทางโทรทัศน์คล้ายๆกับเกมส์เศรษฐีในไทย แต่เขาถูกตำรวจจับไปเค้นหาความจริงโดยกล่าวหาว่าเขาโกงคำตอบเรื่องราวที่เหลือเป็นการเล่าย้อนประวัติชีวิตอันโชกโชนของเด็กหนุ่ม เพื่อให้เห็นว่าเหตุใดเขาจึงรู้คำตอบของแต่ละคำถาม ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้าย และหนังเรื่องนี้ได้ประชดประชันสังคมได้พอสมควร จะพูดถึงความเสื่อมโทรมต่างๆในอินเดีย โดยเฉพาะการแบ่งชนชั้น ที่ยังคงมีอยู่ในสังคมอินเดียในปัจจุบัน จากที่เห็นการแบ่งชนชั้นระหว่างพิธีกรรายการกับตำรวจ เป็นตัวแมนการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน ถึงแม้ว่า จามาล เด็กสลัมจนๆจะตอบคำถามยากๆได้ พิธีกรจะทำน้ำเสียงดูถูกจามาลว่าเป็นเด็กเสิร์ฟจะตอบคำถามยากๆได้ จามาลไม่ได้เรียนหนังสือมา แต่จามาลตอบกลับไปว่า I can read. แปลว่า ผมอ่านออกละกั
จากที่ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันดี้ความว่า เนื้อเรื่องหลัก พูดถึงเกมส์ที่ชื่อว่า "Who wants to be a millionaire" หรือก็คือเกมเศรษฐี ซึ่งรายการนี้ไม่ใช่รายการที่ต้องการคนเก่ง แต่เป็นรายการที่มีแค่ “รู้” หรือ “ไม่รู้” ต่างหาก ในหนังจะพูดถึงตรงนี้ตั้งแต่คำถามที่สองซึ่งมันเป็นเรื่องทั่วๆๆไป ถามถึงวลีนึง ที่พิธีกรบอกว่าเป็นวลีติดปากของคนในประเทศ หรือที่ inspector บอกว่า เด็ก5 ขวบยังตอบได้เลย แต่จามาลตอบไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าเขาโง่แต่เขาแค่ไม่รู้ ซึ่งมันก็ไม่ผิดเพราะขนาด inspector ก็ตอบไม่ได้เหมือนกันว่าใครขโมยจักรยานตำรวจไป ซึ่งจามาลบอกว่า "Everyone in Juhu know that. Even 5 year olds" ซึ่งมันจะแปลได้ประมาณว่า "ทุกคนในจูฮูรูกันหมดแหละ ไม่ใช่แค่เด็ก 5 ขวบ" จากฉากนี้สะท้อนให้เห็นว่าไม่เฉพาะอินเดียหรอก จะชอบมีคนประเภทเนี่ย คือดูถูกคนอื่น ดูถูกคนที่เค้าไม่รู้เรื่องที่ตัวเองรู้ ว่าเป็นคนโง่แต่พอมาถามคำถามยากๆๆ ไม่สิ เรียกว่าเป็นคำถามที่ไม่น่ามีคนรู้มากกว่า เช่นถามถึงรูปคนบนธนบัตร 100ดอลล่าสหรัฐ  เรื่องนี้ทุกคนต่างคิดว่าจามาลไม่น่าจะรู้ ก็ใครล่ะจะคิด ว่าเค้าเคยจับธนบัตร 100 ดอลล่าห์ด้วย  และก็ถามไปเรื่อยๆๆครับ เล่นกับความรู้ หรือไม่รู้ของจามาลนี่แหละ ซึ่งแน่นอน เค้าตอบได้หมด ยกเว้นข้อสุดท้าย พักรายการก่อนการตอบ คำตอบคือข้อ D แต่พิธีกรแอบไปบอกคำตอบลวง ทั้งนี้จามาลไม่มีข้อมูลอะไรเลย เขาเลือกใช้ตัวช่วย 50:50 คือตัดข้อที่ไม่ใช่ออก 2ข้อ และมันก็เหลือข้อ Bที่พิธีกรหลอกเค้า และข้อD คำตอบที่ถูก ตรงนี้จามาลเลือกที่จะตอบ D เค้าเลือกที่จะไม่เชื่อคำตอบที่พิธีกรบอก ถ้าเป็นผม ผมก็คงลังเลอยู่เหมือนกัน ..เพราะตอนที่พิธีกรเข้ามาบอก เค้าก็พูดอย่างเป็นมิตร ดูหวังดี แต่จามาลไม่เชื่อ และจามาลตอบถูก รับเงินไปถึง 10ล้าน
ก่อนจะเล่นข้อสุดท้าย  ก็ตามธรรมเนียมรายการสดแนวนี้ครับ เพื่อเรียกเรตติ้งต้องเอาข้อสุดท้ายไปเล่นวันต่อไป คนจะได้ตามดูเยอะๆ และนี่เอง จุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดจามาลถูกจับ ข้อหาโกงรายการเค้าถูกซ้อม ถูกทรมานด้วยวิธีการต่างๆๆ เพื่อให้รับสารภาพซึ่งหนังได้ตีแผ่ความทารุณของเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อประชาชน แล้วเรื่องก็ค่อยๆๆไหลออกมาจากปากเค้า ว่าทำไมเค้าถึงรู้ ทำไมเค้าถึงตอบได้ ซึ่งจริงๆมันก็เป็นเรื่องราวต่างๆๆที่เค้าได้เจอได้ประสบมาตลอดชีวิตของเค้านั่นแหละและข้อสุดท้าย จามาลถูกปล่อยตัวให้กลับมาเล่น กับคำถามที่เค้าน่าจะรู้ ถ้าเค้าใส่ใจ นั่นคือเรื่อง "ตัวละครในนิยายเรื่อง 'The Three Musketeers' ชื่อแกงค์พวกเค้า" มันน่าเจ็บใจมากนะครับ เรื่องที่เค้าควรรู้ แต่กลับไม่รู้เค้าจึงเลือกที่จะโทรถามทางบ้าน ซึ่งก็หมายถึง ซาลิม พี่ชายเค้านั่นเอง จะว่าไปผมว่าเค้าคงไม่ได้หวังหรอกว่าจะได้คำตอบรึเปล่า เค้าก็คงแค่อยากคุยกับพี่ชาย เพราะยังไง นั่นก็เป็นสิทธิของเค้า  ถึงซาลิมไม่รู้ เค้าก็อาจจะขอหยุดอยู่ที่ 10ล้านก็ได้ ไม่มีอะไรเสียหายซาลิมช่วยให้ลาติก้าหนีออกมาหาจามาล เค้าเลือกที่จะถูกฆ่าตาย เพื่อความสุขของน้องชายตัวเองจุดนี้เป็นอีกจุด ที่หนังได้ประชดสังคม เพราะซาลิม เป็นเหมือนตัวแทนของความทะเยอทะยาน เค้าทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ยอมผิดบาป ยอมทำเลว เพื่อให้ตัวเอง และน้องชายสบายขึ้น ฉากสุดท้าย เค้าเอาเงินทั้งหมดมาใส่ในอ่างอาบน้ำ และลงไปนอน รอฆ่าเจ้านายตัวเอง คือเค้าก็รู้แหละ ว่ายังไงเค้าก็ต้องตายแน่ๆๆ ..ก็ขอฆ่าคนเลวๆๆอย่างเจ้านายก่อนแลกชีวิตกันว่างั้น และเค้าเอง ก็จะได้ตายบนเงินที่ตัวเองหามาได้ประมาณว่า เค้าเกิดมาจากสลัม เป็นลูกหมาสลัม(Slumdog ) แต่ตอนตาย ขอตายอย่างมหาเศรษฐี
                        โทรศัพท์ของซาลิม อยู่ที่ลาติก้า พอได้คุยกับลาติก้าเท่านั้น จามาลก็เหมือนคิดอะไรได้ ข้อนี้เค้าก็มั่วเหมือนกัน เพราะเค้าได้คุยกับลาติก้า เค้ารู้ว่าลาติก้าปลอดภัย.แค่นี้แหละที่เค้าต้องการ เค้าไม่ได้มาเล่นเกมส์เพราะต้องการเงิน แต่เค้าต้องการให้ลาติก้าเห็นเค้า จะได้ติดต่อกัน ตอนนั้นเค้าคงไม่สนใจแล้วว่าจะตอบถูกรึเปล่า เพราะเค้าได้สิ่งที่เค้าต้องการแล้ว เงินมันไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว เพียงแต่ หนังเค้าคงอยากให้จบแบบแฮปปี้เอนดิ้งที่สุด ก็เลยให้เค้าตอบถูกด้วย พร้อมกับตอบคำถามในตอนแรกที่ว่า เค้าตอบคำถามถูกทั้งหมดได้ไง เค้าไม่ได้โกง เค้าไม่ได้อาศัยโชค เค้าไม่ได้เป็นอัจริยะ เพียงแต่ ทุกอย่างมันถูกกำหนดให้เป็นแบบนี้ ทุกคำถามที่ถามเค้า มันบังเอิญเป็นคำถามที่เค้ารู้คำตอบอยู่แล้ว เป็นคำถาม ที่เค้าเคยผ่านมาแล้ว เค้ารู้ เค้าจึงตอบถูกก็เท่านั้นและแม้ว่าข้อสุดท้ายเค้าจะตอบผิด เค้าก็คงไม่เสียใจ เพราะทุกอย่างได้ถูกกำหนดไว้แล้ว
            Slumdog Millionaire หรือเด็กสลัมเงินล้าน เนื้อหาในหนังจะพูดถึงเด็กหนุ่มจากสลัมในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียผู้พิชิตเงินล้านในเกมโชว์ทางโทรทัศน์ แต่กลับถูกตำรวจจับไปค้นหาความจริงโดยกล่าวหาว่าโกงคำตอบ เรื่องราวที่เหลือเป็นการย้อนประวัติชีวิตอันโชกโชนของเด็กหนุ่ม เพื่อให้เห็นว่าเหตุใด เขาจึงรู้คำตอบของแต่ละคำถาม ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้าย หนังถ่ายทำในอินเดียตลอดทั้งเรื่อง ใช้นักแสดงชาวอินเดีย พูดภาษาฮินดูพอๆกับภาษาอังกฤษ และมีกลิ่นอายแบบหนังฮอลลีวูด เพราะเป็นรักโรแมนติก-ดรามา ชวนฝันที่อบอวลด้วยเพลงประกอบสไตล์ภารตะ เรื่องราวของตัวละครชาวอินเดียประกอบฉากหลังทัชมาฮาลและมุมไบแล้ว หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวและความตื่นตาด้วยบรรยากาศเอ็กโซติก สมทบด้วยวัฒนธรรมอินเดียผ่านเรื่องราวและบทเพลงมากมาย และหนังเรื่องนี้ยังใส่เหตุการณ์ความรุนแรงซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญของชีวิต เมื่อกลุ่มชาวฮินดูบุกทำลายบ้านเรือนและฆ่าชาวมุสลิมจำนวนมากและแม่ของจามาลก็เป็นหนึ่งในชาวมุสลิมที่เสียไป สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการดูหนังเรื่องนี้


สรุปคำศัพท์และวลีที่ดิฉันพยายามฟังและแปลจากหนังเรื่อง Slumdog Millionaire ดังนี้
-                   Distort สลัม
-                   Don’t go away now. อย่าไปไหน (พิธีกรพูดระหว่างพักเบรค)
-                   Time to go ได้เวลาไปกันแล้ว
-                   Give me that เอานั่นมาให้ฉัน
-                   Pay or Play จะหยุดหรือเล่นต่อ (พิธีกรถามจามาลก่อนที่จะไปข้อถัดไป)

-                   Come away with me รีบไปกับฉัน  

Learning log ในห้องเรียน (Oct 20th , 2015)

Learning log ในห้องเรียน
(Oct 20th , 2015)
            Time Clause คือ วลี (ไม่ใช่ประโยค) ที่บ่งบอกเวลา มักมีคำว่า Before, After, When, As soon as, Until แต่ Time Clause จะไม่ใช้รูป Future Tense แม้ว่าเวลานั้นจะเกิดในอนาคตก็ตาม โดยจะใช้รูป Present Simple แทน เช่น
-                   After I get home, I will eat dinner.
-                   When Bob comes, we will see him.
-                   When the phone rang, the baby woke up.
When the phone rang คือ กลุ่มคำที่บอกเวลา ให้รู้ว่า baby ตื่นเมื่อไหร่When the phone rang    คือ Time clause When the phone rang, the baby woke up. และ The baby woke up when the phone rang. 2 ประโยคนี้ ความหมายเหมือนกัน เขียนแบบไหนก็ได้ ข้อแตกต่างคือ ถ้าเอา Time clause ไว้หน้าประโยค พอจบ Time clause ต้องมี คอมม่า ก่อนที่่จะเขียน อีก clause ที่เป็น main ในประโยค แต่ถ้าเขียน main clause ขึ้นก่อน แล้วตามด้วย time clause ไม่ต้องมีคอมม่าและ time clause แบบนี้ ทำหน้าที่ขยายกริยา เพราะฉะนั้น time clause นี้ก็จะทำหน้าที่เป็น Adverb Clause ในประโยค(adverb คือคำที่ขยาย verb )คือ ขยายคำว่า woke up
        ตัวอย่าง เช่น
              1.            We went inside when it began to rain.
             When it began to rain, we went inside.
       2.   When my mom comes home, I will cook dinner.
I will cook dinner when my mom comes home.

Learning Log (นอกห้องเรียน) (Oct 13th ,2015)

Learning Log (นอกห้องเรียน)
(Oct 13th ,2015)
                การฝึกทักษะภาษาอังกฤษโดยการฟังภาพยนตร์ฝรั่งค่อนข้างเป็นทักษะที่ยาก เพราะว่าตอนเราดูภาพยนตร์นั้นเราจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูดกันทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก ตอนเราดูหนังในโรงเราจะอ่านส่วนที่ซับไตเติ้ลภาษาไทยด้านล่างของจอ อย่างน้อยจะทำให้เข้าใจระดับหนึ่งทำให้ได้ความบันเทิงแต่ขาดความรู้ทางด้านภาษา เรียกว่าปีๆหนึ่งเล่นไปนั่งดูมันหลายสิบเรื่องไม่คุ้มค่าต่อเวลาที่เสียไป
                การดูหนังเพื่อพัฒนาภาษาของผู้ดูนั้นเป็นการทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ เพราะความจริงที่แสนจะเจ็บปวดก็คือว่า คนที่พยายามดูหนังฝรั่งแล้วคิดว่าจะเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมนั้นก็จะได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ยิ่งไม่รู้อะไรเลยจะทำให้เวลาเราพูดภาษาไทยกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิด เราก็ใช้ภาษาในลักษณะนี้แหละเช่น Get out of here! ไปให้พ้น It sucks. มันห่วยแตก นี่คือคำพูดที่เข้าใจไม่ยากเพราะในอารมณ์หนังที่เราดูมันก็อยู่ในลักษณะเดียวกันทุกเรื่อง อาการไม่พอใจ โกรธ บ้า เพราะอารมณ์เหล่านี้คืออารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ซึ่งไม่ใช่ไม่ดีแต่มันเป็นความหลากลายของภาษา ในแง่ของวิธีใช้ การใช้คำพูดที่ใหม่ๆศัพท์เก๋ๆ เรียกว่าไม่ตกสมัยก็ว่าได้
                ใครที่ต้องการภาษาดีๆสวยงาม มันก็มีหนังในยุคของเขาให้ดู เช่น หนังศึกสงคราม หนังในเชิงรักแบบสมัยก่อนนั่นเลย คนที่ต้องการภาษาแบบนั้นก็ต้องไปดูหนังเช่นนั้น หากใครอยากดูหนังประเภทใด

Learning log (นอกห้องเรียน) (Oct 6th , 2015)

Learning log (นอกห้องเรียน)
(Oct 6th , 2015)
                การอ่านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อให้เราได้รู้จักตำแหน่งและหน้าที่ของคำ แหล่งคำที่เราพูดหรือจะเขียนว่าเราวางคำเหล่านั้นไว้ตรงไหน เมื่อเราเขียนประโยคหรือพูดแต่ละประโยคออกมา เราจะต้องเรียงตำแหน่งให้ถูกต้อง คำไหนที่ควรจะอยู่หน้า คำไหนควรจะอยู่หลัง เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเรียนจะใช้หรือจะพูดภาษาอังกฤษให้ดีจะต้องเข้าใจพื้นฐานคำทั้ง 7 ชนิด และนำไปใช้ให้ได้ ให้เป็น ให้ถูกต้อง ในสัปดาห์นี้ข้าพเจ้าศึกษาทักษะการอ่านเรื่อง active voice เปลี่ยนเป็น passive voice
                Active voice (กัตตุวาจก) หมายถึง รูปของคำกริยาที่แสดงว่าประธาน (Subject) ในประโยคเป็นผู้แสดงหรือการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ประโยคต่อไปนี้
·       Daniel shot a tiger. (เดเนียลได้ยิงเสือตัวหนึ่ง)
·       I wrote a letter yesterday. (ฉันเขียนจดหมายฉบับหนึ่งเมื่อวาน)
·       He cooks lunch every day. (เขาทำอาหารกลางวันทุกๆวัน)
ประโยคทั้งสามที่กล่าวนี้เป็น active voice เพราะได้ยกตัวอย่างเอาผู้กระทำ คือ เดเนียล ฉัน เขา
ขึ้นมากล่าวเป็นจุดสำคัญ แม้ว่าพบในประโยคอื่นๆก็ทำให้รู้ว่าเป็นประโยค active voice ทันที

Learning log ในห้องเรียน (Oct 6th , 2015)

Learning log (ในห้องเรียน)
(Oct 6th , 2015)
                Noun clause คือ subordinate clause ทำหน้าที่เป็นคำนามของประโยค จะเป็นภาคประธาน กรรม กรรมของบุพบท และส่วนเติมเต็ม Noun clause จะมีคำเชื่อม 3 กลุ่มคือ 1.Wh-words 2.Whether และ 3.That โดย Noun clause ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของคำถาม เพราะ subject จะอยู่หน้า verb เสมอ ทำให้เราไม่ต้องเติม question mark (?) ต่อท้าย และ Noun clause ที่เป็นประธาน จะเป็นประธานเอกพจน์เสมอ
                Noun จะทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม subject complement และอยู่หลังคำบุพบท (preposition) ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนกับ Noun clause และ Adjective clause ต่างกับ Noun clause คือ ตำแหน่งที่อยู่แตกต่างกัน Adj. มีหน้าที่ขยายคำนาม ซึ่งคำนามนั้นอาจจะเป็น Subject, object แต่ใน Noun clause ไม่มีหน้าที่ไปขายใคร มันจะทำหน้าที่เป็น Subject, Object เอง
                Noun clause มีเอกลักษณ์อยู่ 2 อย่าง คือ เชื่อมด้วย relative pronoun ได้แก่ who, whom, which, where, when, why, that, what, whether และ if ยังมี how และ how+ adj. หลัง question word จะต้องตามด้วยกริยาแท้ ตำแหน่งของ Noun clause จะอยู่หน้าหรือหลังคำกริยาหรือหลังคำบุพบท ตัวอย่างเช่น

Learning Log นอกห้องเรียน (Sep 29th ,2015)

Learning Log นอกห้องเรียน
(Sep 29th  ,2015)
                        ในอนาคตประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่อาเซียนเป็นการเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในบ้านเรามากขึ้น ในสถานะที่เราเป็นเจ้าบ้านเราต้องรู้จักสร้างสัมพันธภาพที่ดี ในการแสดงความสุภาพกับชาวต่างชาติหรือคนอื่นๆ เราสามารถทำได้โดยการไหว้ การยิ้ม การจับมือ ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกอีกอย่างคือ การทักทาย โดยการทักทายเป็นการแสดงความสุภาพอย่างหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ข้าพเจ้าเลือกที่จะฝึกทักษะการฟัง เรื่อง การทักทาย(Polite English)จาก เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=aHjnALRrIn0
                วันที่ 23-25 กันยายน 2558 ข้าพเจ้าได้ฝึกทักษะการฟัง เรื่อง 4 Magic words สี่คำวิเศษที่ใช้แล้วเป็นคนสุภาพในสายตาชาวโลก สี่คำวิเศษที่พูดด้วยน้ำเสียงที่ดีรับรองว่าฝรั่งได้ยินแล้วทึ่ง คือคำว่า 1. Excuse me ขอโทษครับ/ค่ะ 2. Thank you ขอบคุณ 3.Please กรุณา และ 4.Sorry ขอโทษ ทั้งสี่คำมีวิธีใช้ดังนี้
                Excuse me ขอโทษครับ/ค่ะ มีวิธีการใช้ 4 แบบ 1. ใช้เป็นประโยคกล่าวนำในการทักทายผู้อื่นอย่างสุภาพ เพื่อถามอะไรบางอย่างที่เราต้องการทราบ ใช้กล่าวเพื่อขอทางเดินผ่านอย่างสุภาพ เช่น ถ้าเราต้องการเดินผ่านทางที่มีคนยืนขวางทางอยู่ซึ่งอาจเป็นทางเดิน ประตู บนรถไฟ ฯลฯ เราเพียงแต่พูดอย่างสุภาพว่า

Learning log นอกห้องเรียน (Sep 22nd, 2015)

Learning log นอกห้องเรียน
(Sep 22nd, 2015)
การอ่าน  หมายถึง  การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน  ผู้อ่านสามารถนำความรู้  ความคิด  หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  การอ่านจึงมีความสำคัญ คือ การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จำเป็นต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ และ การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ข้าพเจ้าได้ฝึกทักษะการอ่านโดยการฝึกอ่านเรื่อง Noun Clause เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านไวยากรณ์ให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Noun clause คือ ประโยคย่อยที่ถูกนำมาใช้อย่างคำนาม ดังนั้นจึงสามารถที่จะนำเอา Noun clause ทั้งหมดไปเป็นประธานของประโยคหรือเป็นกรรมของประโยคก็ได้
                โครงสร้างของ Noun clause คือ คำขึ้นต้น Clause + S. + V. and คำขึ้นต้น Clause + V. ซึ่ง คำขึ้นต้น Clause สามารถทำหน้าที่เป็นประธานของ Noun Clause ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
                หน้าที่ของ Noun Clauses ในตัวอย่างข้างล่างประโยค มีคำนามหรือกลุ่มคำนาม (noun phrase)  และประโยค มี  noun clause  ในตำแหน่งเดียวกันกับประโยค a   
          1. Subject
                  a.  His statement is correct.
                  b. What he said is correct.       

Learning log ในห้องเรียน (Sep 22nd , 2015)

Learning log ในห้องเรียน
(Sep 22nd , 2015)
Conditional sentences หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause คือ ประโยคเงื่อนไข ประกอบด้วยอนุประโยค (ประโยคย่อย) สองประโยค ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สังเกตว่า อนุประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้ แล้วแต่การเน้นและความหมาย if-clause มี 4 แบบ
แบบที่ 1 : ZERO Conditional Sentences ใช้สำหรับพูดถึงความจริงทั่วไป โดยใช้ present simple ในอนุประโยคทั้งสองประโยค
If + present simple, .... present simple. (คนไทยมักจะเขียนว่า If + subject + V1, subject + V1)
ประโยคแบบ zero conditional sentences ใช้พูดถึงกรณีที่ถ้าเกิดสิ่งหนึ่ง ต้องเกิดอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เช่น If water reaches 100 degrees, it boils. เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส น้ำจะเดือดเสมอ หรือ If I eat peanuts, I am sick. ถ้าฉันกินถั่วลิสงฉันจะแพ้ ซึ่งประโยคลักษณะนี้ เราจะใช้คำว่า when (เมื่อ) แทน if ก็ได้
ตัวอย่างเพิ่มเติม
If people eat too much, they get fat. ถ้ากินมากจะอ้วน
If you touch a fire, you get burned. ถ้าแตะไฟก็จะโดนลวก

Learning log นอกห้องเรียน (Sep 15th, 2015)

Learning log นอกห้องเรียน
(Sep 15th, 2015)
                การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีความสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ปัญหาต่างๆ ได้การเรียนรู้ทักษะการอ่านแบบต่าง ๆ ได้แก่ การอ่านแบบ skimming, scanning และ speed reading เมื่อรู้เทคนิคการอ่านแล้ว ผู้เรียนควรเริ่มฝึกโดยการอ่านเรื่องที่น่าสนใจเรื่องสั้นๆ ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาและตีความหมายจากการอ่านได้ อย่างเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading )
                วิธีการอ่านภาษาอังกฤษง่าย ๆ มีอยู่ 3 อย่างคือ Skim, Scan และ Speed เราสามารถฝึกทักษะเหล่านี้ และเลือกใช้ตามความเหมาะสม Skimming reading เป็นการอ่านแบบคร่าว ๆ ผิวเผิน เป็นการอ่านเพียงเพื่อให้ทราบว่าเรื่องนี้ บทความนี้ พูดถึงเรื่องอะไร มีภาพรวมอย่างไร ส่วน Scanning reading เป็นการอ่านเพื่อหาข้อมูลเฉพาะจากบทความนั้น ๆ ดังนั้น Skim และ Scan จึงเป็นทักษะการอ่านที่จำเป็นในการสอบ หรือเมื่อมีเวลาจำกัด วิธีการทั้งสองอย่างนี้ จำเป็นต้องมีการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญ ‘Skimming reading’ สามารถฝึกได้โดยไม่อ่านทุกคำ