ประเภทของข้อความ
(Text Types)
จุดประสงค์ของงานเขียนคือเพื่อให้ข้อมูล
ชักชวนหรือเพื่อความบันเทิง ทุกงานเขียนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ความหมายของบทความ
และลักษณะที่น่าสังเกตของบทความในหนังสือพิมพ์ไว้ พอสรุปได้ว่า บทความ หมายถึง
เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น แตกต่างจากบันเทิงคดี
บทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก
ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่องพื้นๆ ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ
ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่าน บทความอาจมีการเน้นเนื้อหาที่ตัวเหตุการณ์และแนวโน้มในอนาคต
ฉะนั้น บทความจึงเป็นความเรียงประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์หลายลักษณะ เช่น
เพื่อแสดงความรู้ เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ
โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์
1. Descriptive writing (การเขียนบรรยาย) มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึงบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์
จนกระทั่งผู้อ่านมีภาพของสิ่งนั้นในใจ ผู้เขียนต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจน
เป็นจริงเป็นจัง จนเสมือนกับการระบายสีภาพสำหรับผู้อ่าน
การเขียนบรรยาย (Descriptive) มีรูปแบบการเขียน คือ รายงานการสังเกตและข้อเขียนเชิงบรรยาย
การเขียนประเภทการบรรยายนี้
อาจเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในการเขียนประเภทการเล่าเรื่องและการอธิบายเป็นแบบที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างว่า
ดูเป็นอย่างไร สัมผัสอย่างไร รสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร
เพื่อให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่าน โดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส
ข้อเขียนอาจเป็นการบรรยายเป็นรายการ คือให้รายละเอียดจุดต่อจุด
หรือบรรยายเป็นเรื่องราว
เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น
บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล
2. Narrative writing (การเขียนเรื่องเล่า)
เรียงความแบบเล่าเรื่องเป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล
รูปแบบจะเหมือนบทสนทนากับผู้อ่านโดยเน้นไปที่ประเด็นตามความเห็นของผู้เขียน
สามารถใส่บทสนทนาเพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สนทนาได้ดีขึ้น
โดยหัวข้อจะเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นปกติและไม่ปกติเรื่องราวจะบอกเล่าเป็นลำดับ
ว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไรจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบเรื่อง
หรืออาจจะเริ่มจากจุดสิ้นสุดมาหาจุดเริ่มต้นเพื่อสร้างความน่าสนใจ
ควรใส่ความสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น คน สถานที่ เหตุการณ์
ใช้คำคุณศัพท์และกริยาเพื่อขยายความ
สร้างให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการถึงรายละเอียดเรื่องราว
อธิบายข้อมูลสนับสนุนการดำเนินเรื่อง ผู้อ่านควรรู้สึกมีส่วนร่วมและเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จุดสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จในการเขียนประเภทนี้ต้องให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องและรู้สึกอยากจินตนาการเรื่องราวต่อไป
3. Recount or Story
telling (การเล่าเรื่อง) เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่างๆ
ที่อยู่กับตัวบุคคล (Tacit knowledge) จากประสบการณ์การดำเนินชีวิต
เรื่องที่ซาบซึ้ง ประทับใจ หรือได้จากการศึกษา การท างานที่
สั่งสมเป็นทักษะแนวปฏิบัติที่ดี หรือจากพรสวรรค์ ให้ บุคคลอื่นฟัง
เพื่อให้ผู้ฟังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการ ท างานของตนเองได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นศึกษาใน
เรื่องนั้นๆ ใหม่ โดยกระบวนการเล่าเรื่องนี้จัดเป็นเครื่องมือ
ด้านการจัดการความรู้ที่สามารถจัดเป็นทรัพย์สินทาง ปัญญาที่สัมผัสไม่ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเรื่องราวสามารถทำได้
หลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการเขียนเรื่องเล่า การเล่าเรื่อง ผ่านสื่อต่างๆ
(คลิปวิดีโอ สไลด์นำเสนอ) เป็นต้น
4. Discussion (การอภิปราย)
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล อาจจะเปรียบเป็นการอภิปราย เป็นการเสนอทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อที่กำลังเขียน
มีการนำเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณา เป็นข้อมูลที่ไม่มีอคติ มองอย่างเป็นกลาง
พยายามให้น้ำหนักทั้งข้อดีและข้อเสียพอๆกัน
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกลางร้อยเปอร์เซ็นต์
5. Exposition or Argument (การโต้แย้ง)
ในการเขียนเรียงความโต้เถียงนี้ ต้องแสดงเหตุผลในสองด้าน
เหตุผลเพื่อสนับสนุนด้านหนึ่งและอีกด้านคือด้านที่เป็นข้อโต้แย้ง โดยที่ทั้ง 2 ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง
แต่ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยอาศัยต้องใช้ข้อมูล
สถิติและข้อคิดเห็นสนับสนุนประกอบ
สิ่งที่นำมาสนับสนุนความคิดจะต้องโน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อประเด็นที่คุณโต้แย้ง
สิ่งสำคัญคือข้อมูลสนับสนุนต้องน่าเชื่อถือ และเป็นเรื่องจริงพิสูจน์ได้
มาสนับสนุนงานเขียนประกอบกับการวิเคราะห์ให้ผู้อ่านเชื่อและคิดว่าความคิดเห็นของผู้เขียนถูกต้อง
argument เป็นการนำเสนอข้อมูลชนิดที่คนเขียนเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
และพยายามจูงใจคนอ่านให้คล้อยตามความเห็นของคนเขียนที่เขียนอย่างไม่เป็นกลางและเอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจน
อาจใช้วิธีเขียนโดยใช้คำพูดค่อนข้างแรง เพื่อจูงใจคนอ่านอย่างที่สุด เพราะ argument
เป็นการถกเถียงกัน (บางทีอย่างหน้าดำหน้าแดง มีการขึ้นเสียงดัง
และพูดอย่างมีอารมณ์)
6. Procedure (การเขียนที่เน้นการดำเนินงาน)
เป็นประเภทงานเขียนที่แสดงวิธีการบางอย่างที่สมารถทำได้เป็นขั้นตอน
เริ่มต้นด้วยการแสดงจุดมุ่งหมายและวิธีการ
ระบุทิศทางสำหรับวิธีการลำดับขั้นตอนของข้อมูล
อาจจะใช้รายละเอียดเฉพาะที่ในการระบุว่าเมื่อใด
โดยมีคำเชื่อมในการบ่งชี้ลำดับขั้นตอน
7. Information Report เป็นงานเขียนที่ให้ข้อมูลความจริง
ในการวางแผนด้วยผังความคิดจะช่วยเสริมข้อมูล
บทนำประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนั้น อาจจะเป็นการบรรยาย
บอกความหมายหรือแยกกลุ่มของข้อมูล ในส่วนเนื้อหาประกอบด้วยตัวเลขในย่อหน้า
ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจนและเป็นความจริง ควรใช้ถึงบุคคลที่ 3 นั้นคือ he she it
8. Explanation ใช้อธิบายแผนภูมิ กราฟ ตาราง โดยการออกแบบวางแผนงานเขียน
ส่วนบทนำประกอบไปด้วยข้อมูลที่เจาะจงเกี่ยวกับอธิบาย เนื้อหาแต่ละย่อหน้า
ประกอบด้วยรายละเอียด ความเป็นจริง และตัวอย่าง
มีการจัดการรายละเอียดในขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถใช้ present tense ที่ใช้ปกติ ใช้คำเชื่อมที่แสดงถึงเวลา เช่น first, then,
meanwhile...
9. Personal Response งานเขียนเชิงวิจารณ์แสดงถึงปฏิกิริยาของคุณที่มีต่อสิ่งที่อ่านหรือสิ่งที่ดู
โดยเรียงความของเราจะต้องแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสถานการณ์ที่กล่าวถึง
โดยต้องมีการกล่าวอ้างเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เขียนและงานประพันธ์นั้นๆ
จุดสำคัญของงานเขียนควรวิเคราะห์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นโดยใช้การประเมินจากการเขียนเรียงความเชิงวิจารณ์
โดยอาจกล่าวถึงความประทับใจครั้งและความประทับใจหลังจากที่อ่านบทความหรือดูชิ้นงานแล้ว
ในแต่ละข้อคิดเห็นของเราควรต้องมีข้อสนับสนุนด้วยหลักฐานหรือมีการกล่าวอ้างตัวอย่างเปรียบเทียบกับชิ้นงานหรือประสบการณ์
ความคิดเห็นที่แสดงออกมาของเราจะแสดงว่าเรามีความเข้าใจในความรู้สึกของผู้ประพันธ์
ลักษณะงานเขียนที่เจาะจงรูปแบบ
1. The personal letter จดหมายส่วนตัว
หรือ personal
letter หรือ person – to – person letter นั้น
เป็นจดหมายที่บุคคลหนึ่ง เขียนถึงอีกบุคคลหนึ่งด้วยเรื่องส่วนตัวของคู่สนทนานั้นๆ
ไม่ได้ว่าด้วยเรื่องธุรกิจหรืออื่นๆ
จดหมายส่วนตัวประเภทนี้แบ่งออกได้เป็นอีกหลายชนิด เช่น จดหมายปลอบใจ จดหมายอำลา
จดหมายรัก จดหมายขอโทษ จดหมายขอบคุณ จดหมายอ้างอิง จดหมายลาออก และ
จดหมายจากครูถึงผู้ปกครอง เป็นต้น
2. The Envelope คือ
การจ่าหน้าซองจดหมายโดยให้เขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ให้ชัดเจน
การจ่าหน้าซองจดหมายจะมี 2 ส่วน
คือส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้รับ และส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้ส่งซึ่งทั้ง 2
ส่วนคล้ายกับ return address และ inside
address
3. The formal Letter สิ่งที่ผู้เขียนต้องระวังมากที่สุดในการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ
คือรูปแบบจดหมายและภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายซึ่งภาษาที่ใช้เขียนจดหมายรวมทั้งรูปแบบจดหมายจะมี
2 อย่างคือ แบบเป็นทางการ (formal) และ
แบบไม่เป็นทางการ (informal)ถ้าเขียนจดหมายแบบเป็น
ทางการภาษาที่ใช้รวมทั้งรูปแบบจดหมายก็ต้องใช้แบบเป็นทางการแต่ถ้าเขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ
จะใช้ภาษาและรูปแบบจดหมายง่ายๆ สบายๆ จดหมายที่เป็นทางการ (formal letter) เช่น จดหมายธุรกิจ (business letter) หรือจดหมายสมัครงาน
(application for a job)
4. Letter to the editor คือ “บทบรรณาธิการ” คือ
บทความที่แสดงทัศนะที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
บทความนี้อยู่ในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิกรเป็นผู้เขียน
หรือมอบหมายให้ผู้เขียนคนใดเขียนประจำหรือหมุนเวียนกันไปตามความถนัดของนักเขียนแต่ละคนก็ได้
ทั้งนี้
แนวคิดที่นำเสนอในบทบรรณาธิการถือเป็นจุดยืนทางความคิดหรือแสดงนโยบายหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
การเขียนบทบรรณาธิการ
5. Postcards การเขียนโปสการ์ดปกติ
จะใช้เขียนถึงเพื่อนและเป็นการเขียนอย่างไม่เป็นทางการ นิยมเขียนเป็นการ์ดอวยพรในวันหยุด
มีรูปภาพเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้รับได้สัมผัสถึงความรู้สึกจากผู้ส่ง
6. Invitations (การเชื้อเชิญ) เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านภาษาที่ใช้ในการเขียนและความละเอียดรอบคอบอย่างมาก
เพราะหากเกิดความผิดพลาดก็จะกระทบกับภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของเจ้าภาพหรือองค์กรได้
ดังนั้นผู้ที่เป็นเลขานุการหรือผู้ที่ไม่ใช่เลขานุการแต่มีหน้าที่ในการจัดทำบัตรเชิญจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องขององค์ประกอบและสำนวนที่ใช้ในบัตรเชิญเป็นอย่างดี
ก่อนจะลงมือเขียนในบัตรเชิญนั้นผู้จัดทำจะต้องรู้ก่อนว่างานเลี้ยงที่จะจัดนั้นเป็นงานประเภทใด
7. Diary Extract การเขียนบันทึก คือ
การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก
ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ วัน เวลาที่จดบันทึกได้ด้วย ประเภทของการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท ดังนี้ คือ การเขียนบันทึกเหตุการณ์
เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้
เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็นและการเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทาง
เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น
8. Interviews/ Dialogues เป็นการเขียนงานสัมภาษณ์ระหว่างบุคคล
2 คน ซึ่งคนหนึ่งเป็นผู้ถามและอีกคนเป็นผู้ตอบคำถาม
โดยใช้กระบวนการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงของผู้ให้สัมภาษณ์
9. Script Writing การเขียนสคริป
โดยใช้รูปแบบเป็นขั้นตอน สรุปเนื้อเรื่องของงานทั้งหมด การจัดเวลา สถานที่
การวางโครงเรื่องที่ถูกต้องมีโครงเรื่อง จุดสุดยอดของเรื่อง และบทสรุป
10. Newspaper Report แนวทางการเขียนข่าวเบื้องต้น การเขียนข่าวที่ดี จะต้อง เน้นความถูกต้อง
กระชับ และชัดเจน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก คือ ความถูกต้องแม่นยำ
ของข้อมูลในข่าวอาจสามารถสร้างสรรค์งาน โดยการเขียนข่าว ให้มีสีสันและมีพลังได้
แต่ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องแม่นยำนั้น ข่าวดังกล่าวก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม
นอกจากจะเป็นข่าวที่ไม่มีค่าอะไรแล้ว ยังเป็นข่าวที่ทำร้ายสังคมด้วย สาระสำคัญของการเสนอข่าว
ต้องตอบสนองความต้องการในการรับรู้ของคนอ่าน เบื้องต้น อย่างน้อย ในเรื่อง Who
- What – When – Where – Why – How ข่าวแต่ละข่าวต้องมีรายละเอียดเบื้องต้นที่ว่า
ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไรและทำไม
11. Feature Article “สารคดี” หมายถึง
งานเขียนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลที่มีตัวตนจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
มีเจตนาเบื้องต้นในการให้สาระ ความรู้ ความคิด ทั้งนี้
ต้องมีกลวิธีการเขียนให้เกิดความเพลิดเพลินด้วย
12. Editorial “บทบรรณาธิการ” คือ
บทความที่แสดงทัศนะที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น บทความนี้อยู่ในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิกรเป็นผู้เขียน
หรือมอบหมายให้ผู้เขียนคนใดเขียนประจำหรือหมุนเวียนกันไปตามความถนัดของนักเขียนแต่ละคนก็ได้
ทั้งนี้
แนวคิดที่นำเสนอในบทบรรณาธิการถือเป็นจุดยืนทางความคิดหรือแสดงนโยบายหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
13. Pamphlet การเขียนแผ่นพับ
ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาของแผ่นพับจะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง วัตถุ
สิ่งของ บริการสถานที่ซึ่งประกอบอยู่
ตัวอย่างเช่น การจัดนิทรรศการ
การแสดงสินค้า/บริการ การนำเสนองาน
เป็นต้น ปัจจุบัน ยังมีแผ่นพับ จุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ
โดยตรงซึ่งไม่ได้ประกอบกับเรื่องใดทั้งสิ้นข้างต้น
อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจหรือเรื่องที่อยู่ในกระแส เช่น
แผ่นพับการให้ความรู้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น
14. Advertising การเขียนโฆษณา
มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง
นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ
เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ
กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง
จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
15. Electronic Communication การสื่อสารข้อมูลหรือยุคแห่งการสื่อสารสารสนเทศ
และการสื่อสารข้อมูล ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญ
องค์การทางธุรกิจมากมาย ถ้าหากขาด การสื่อสารข้อมูลจะทำให้ธุรกิจด้านนี้เกิดความขัดข้องเป็นอย่างมาก
การสื่อสารข้อมูลโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในการติดต่อ
สื่อสารส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน การใช้ข้อมูล การใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ร่วมกัน เช่น
การรับ-ส่ง e-mail