วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม

                การแปลวรรณกรรมช่วยให้คนที่อยู่ในแต่ละส่วนของโลกได้รับรู้เรื่องราว สภาพแวดล้อม ความคิด ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของถิ่นอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆซึมซับจนเกิดเป็นความเข้าใจคนเชื้อชาตินั้นๆได้ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมชิ้นเอกของโลกจำนวนไม่น้อยเขียนด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษอันถือเป็นภาษาสากลของโลก ดังนั้น การเลือกวรรณกรรมเพื่อแปลเป็นภาษาไทยยังต้องสรรหาบุคคลที่รู้ภาษาต่างประเทศนั้นๆดีพอที่จะแปลหนังสืออันทรง คุณค่าทางวรรณกรรมได้ด้วย บางครั้งการหาผู้แปลจากภาษาที่หนึ่งเป็นเรื่องยากลำบาก สำนักพิมพ์จึงมักแก้ปัญหาโดยหาผู้แปลจากภาษาที่สองแทนซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ การตัดสินใจดังกล่าวแม้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้แปลได้ แต่อาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆตามมามากมาย เนื่องจากทั้งสำนักพิมพ์และผู้แปลไม่อาจรู้ได้ว่าฉบับแปลภาษาอังกฤษนั้นเก็บใจความทุกอย่างและความรู้สึกทุกประการของตัวละครไว้ได้หรือไม่ อีกทั้งยังคงบริบททางวัฒนธรรมไว้ได้ครบถ้วนเพียงใด
วรรณกรรมเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งแบบร้อยแก้วและแบบร้อยกรอง โดยปกติวรรณกรรมนั้นเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภทบันเทิงคดี ซึ่งได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยายบทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและความรู้ แต่การแปลวรรณกรรมนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความหมายเดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับ ซึ่งผู้แปลนั้นจะต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง เพราะงานแปลลักษณะนี้เป็นงานศิลปะอย่างแท้จริง ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวหลักการแปลวรรณกรรมที่ประกอบไปด้วย หลักการแปลนวนิยาย หลักการแปลบทละคร หลักการแปลบทภาพยนตร์ หลักการแปลนิทาน นิยาย หลักการแปลเรื่องเล่า หลักการแปลการ์ตูนและหลักการแปลกวีนิพนธ์

                โดยเริ่มจากหลักการแปลนวนิยาย ในงานประเภทนี้มีความสำคัญมากในวงการแปล เพราะคุณค่าของวรรณกรรมนั้นจะอยู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถใช้ถ้อยคำสำนวนให้สละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรมนั้นเป็นความสำคัญอันดับแรกซึ่งเป็นเหมือนใบหน้า ดังนั้นผู้แต่งจึงต้องพิถีพิถันกับชื่องานเพื่อให้เร้าใจผู้อ่านอยากอ่านเนื้อเรื่อง ซึ่งการแปลชื่อเรื่องแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ แบบที่ 1 แบบไม่แปล หมายถึง ใช้ชื่อเดิมด้วยวิธีการถ่ายทอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษรวงเล็บทับศัพท์ เช่น Coma - โคม่า แบบที่ 2 คือ แปลตรงตัว หากต้นฉบับนั้นมีความสมบูรณ์ครบถ้วนแล้วโดยรักษาความหมายของคำด้วยภาษาไทยได้ดีและกะทัดรัดเช่น วิญญาณขบฏ Spirit Rebellious แบบที่ 3 เป็นการแปลแบบบางส่วนหรือดัดแปลงมาบางส่วน ซึ่งวิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับนั้นห้วนเกินไปไม่น่าดึงดูด เช่น Animal Farm - การเมืองของสัตว์ และแบบที่ 4 เป็นการตั้งชื่อใหม่โดยการตีความจากชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง โดยผู้แปลนั้นจะต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์จับประเด็นและลักษณะเด่นของเรื่องก่อน จึงสามารถตั้งชื่อใหม่ที่ดีได้เช่น gone with the wind - วิมานลอย
                ในส่วนของการแปลบทสนทนานั้น บทสนทนาเป็นถ้อยคำโต้ตอบกันของตัวละคร ซึ่งจะใช้ภาษาพูดหลายระดับแตกต่างกันตามสถานภาพทางสังคมของผู้พูดในบางครั้งภาษาพูดเต็มไปด้วยคำแสลง คำสบถ ดังนั้น จะต้องแปลให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับฐานะของผู้พูดโดยรักษาความหมายโดยนัยไว้ให้ครบครบถ้วนอย่าแปลคำตอบคำว่าจะทำให้ฟังดูแข็งๆไม่เป็นธรรมชาติ และในส่วนการแปลบทบรรยายนั้นผู้แปลมักจะมีปัญหาในเรื่องของระดับของภาษาซึ่งเกิดจากภาษา 2 ประเภทคือ ภาษาสังคม ภาษานั้นจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมของผู้ฟัง กาลเทศะ และอารมณ์ ดังนั้นเมื่อแปลบางครั้งผู้แปลจำเป็นค้นคว้าที่มาของคำนั้นนั้นให้ถ่องแท้ ส่วนภาษาวรรณคดีนั้นเป็นภาษาที่ใช้เขียนในงานวรรณกรรมต่างๆ มีความไพเราะสละสลวย ไม่นิยมใช้พูดจากันในชีวิตประจำวัน โดยผู้แปลจะคำนึงถึงลีลาการเขียนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน หลักการแปลวรรณกรรมนั้นจะเริ่มด้วยการอ่านเรื่องราวให้เข้าใจเพื่อจับใจความสำคัญทั้งหมดก่อนและทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่องจากนั้นจึงวิเคราะห์ด้วยคำสำนวนหาคำความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักและลงมือแปลภาษาไทยด้วยท่านถ้อยคำที่สำนวนที่เรียบง่ายและการใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
                หลักการแปลบทละคร จะเห็นได้ว่าในบทละครนั้นส่วนใหญ่จะเป็นบทเจรจาหรือพูดซึ่งเป็นตัวดำเนินเรื่องให้ต่อเนื่องกัน บนละครที่ดีนั้นจะ ไม่ยืดยาว เป็นถ้อยคำที่สั้นกะทัดรัด ชัดเจน แต่ผู้แสดงจะแสดงให้เห็นกริยาท่าทางต่างๆ โดยผู้แปลมักจะแปลการบอกบทให้แสดงท่าทางไว้ในวงเล็บ ในส่วนของบทบรรยายละครนั้นจะมีการบรรยายฉาก สถานที่ เวลา และการปรากฏตัวของตัวละคร ซึ่งส่วนมากจะบรรยายก่อนเปิดม่าน ในวิธีการแปลนั้นจะเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ ในการอ่านครั้งแรกนั้นเป็นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด เพื่อตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อใด ต่อมาอ่านเพื่อค้นหาความหมายคำที่ไม่รู้จักโดยอาจจะใช้พจนานุกรม และเข้าสู่ขั้นการแปลโดยการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับสถานะและบริบทของตัวละคร
                หลักการแปลบทภาพยนตร์ภาพยนตร์นั้น มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่างคือ นำบทแปลนั้นไปพากย์ โดยผู้แปลจะต้องระวังในเรื่องของคำพูดที่ต้องตรงจังหวะกับการขยับริมฝีปากของผู้แสดง หรือนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องความพอเหมาะของเนื้อหากับกรอบภาพและผู้ชมจะสามารถจับผิดได้จากการเปรียบเทียบคำพูดกับนักแสดง ลักษณะเนื้อหาด้านในนั้นจะเหมือนกับบทละครซึ่งประกอบไปด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ผู้แสดงจะมีจำนวนมากกว่า นอกจากนี้การแสดงยังมีการเคลื่อนไหวเร็วกว่ามาก ดังนั้นผู้แปลจึงต้องตระหนักในลักษณะเฉพาะของบทภาพยนตร์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด โดยในการแปลนั้นจะทำเช่นเดียวกับการแปลบทละครซึ่งจะต้องอ่านทั้งข้อความ ภาพและฉากพร้อมกันโดยให้มีความสัมพันธ์ต่อกัน
                หลักการแปลนิทาน นิยาย นิทานนั้นนับได้ว่าเป็นบันเทิงคดีที่มีมาแต่โบราณเป็นเรื่องเล่าที่ใช้วิธีบรรยายแบบพรรณนาแบบพื้นไม่มีวิธีการซับซ้อน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้คือ Tale เป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นอาจจะเล่าเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้แต่มีการใช้วิธีเล่าที่แปลก Myth หมายถึงเรื่องและเล่าที่รู้จักกันมาแต่โบราณเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับทางศาสนา มีปฏิหารของพระเจ้าและพลังอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ Fable หมายถึงเรื่องเล่าสั้นๆที่ให้เห็นสัจธรรมหรือความจริงบางอย่าง Fairy Tail หมายถึงนิทานที่เน้นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า และ Legend หมายถึงเรื่องราวชีวิตของนักบุญซึ่งครอบคลุมไปถึงชีวิตบุคคลธรรมดาที่ไดทำความดีด้วย วิธีการแปลนิทานนั้นจะเริ่มโดยการอ่านครั้งแรกอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจและตอบคำถามทั้ง 5 ดังต่อไปนี้คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม ถัดมาคืออ่านเพื่อค้นหาความหมายของคำที่ไม่ทราบความหมายหลังจากนั้นจึงเขียนบทแปลซึ่งการใช้สรรพนามที่ควรจะใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า ตอนจบก็เป็นคำสอน ส่วนการแปลชื่อของเรื่องนี้สามารถใช้วิธีแปลตรงตัวได้
                หลักการแปลเรื่องเล่า เรื่องเล่านั้นเป็นเนื้อเรื่องที่แฝงมุขตลกอยู่ โดยผู้อ่านจะต้องเข้าใจมุขตลกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อนั้น ซึ่งเรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครสำคัญจำนวนอย่างน้อย 1 - 2 ตัว และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบรวดเดียวจบเพื่อให้กระชับความซึ่งในตอนจบจะเป็นส่วนที่ตลกและเป็นจุดเด่นของเรื่อง ในการแปลเรื่องเล่านั้นจะเริ่มโดยจากการอ่านครั้งแรกเร็วๆเพื่อทำความเข้าใจซึ่งแบ่งเป็น 4 ตอน โดยตอบคำถามดังนี้คือ ตอนที่ 1 ตอบคำถามว่าใคร ตอนที่ 2 ตอบคำถามว่าใครและทำอะไร ตอนที่ 3 ตอบคำถามว่าใครทำอะไร และตอนที่ 4 คือ ทำอะไรและค้นหาปมอารมณ์ขัน ต่อไปเป็นการอ่านอย่างช้าๆเพื่อค้นหาความหมายคำหรือวลีที่ไม่เข้าใจ หลังจากนั้นจึงเขียนบทแปลซึ่งจะใช้ภาษาระดับกลางมีความกำกวมและแฝงอารมณ์ขันโดยผู้แปลจะต้องเลือกคําที่ฟังดูแล้วตลก
                หลักการแปลการ์ตูน การ์ตูนนั้นเป็นว่ารักเป็นบันเทิงคดีที่ให้ความบันเทิงทุกอย่างแต่ผู้อ่านเช่นเดียวกับเรื่องสั้นโดยผู้อาจจะสามารถเชื่อมโยงการสื่อความหมายด้วยภาพกับภาษาเข้าด้วยกันหลักสำคัญในการแตกการ์ตูนนั้นคือการใช้คำแปลที่สั้นชัดเจนเข้าใจได้และสื่อความหมายได้ ในส่วนของวิธีการแปลนั้นจะมีขั้นตอนคล้ายคล้ายกับการแปลเรื่องเล่าโดยเริ่มจากการอ่านครั้งแรกจะอ่านเร็วเร็วๆเพื่อทำความเข้าใจคำพูดและภาพและตอบคำถามเหมือนกับการแปลเรื่องเล่า ต่อจากนั้นจึงเขียนบทเพลงโดยเมื่อเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดแล้วก็จะอ่านซ้ำอย่างละเอียดเพื่อเตรียมการเขียนโดยข้อระมัดระวังในการไปการ์ตูนคือความจำกัดของคำในกรอบคำพูดถ้าใช้คำยาวยาวๆจะทำให้ยืนอยู่บนกรอบดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวจำนวนคำลงให้พอดี
                หลักการแปลกวีนิพนธ์ กวีนิพนธ์นั้นเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นเป็นร้อยกรอง มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้แก่ การจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์ จำนวนบรรทัด เสียงหนักเบา การสัมผัสและจังหวะ ที่จะทำให้เกิดความไพเราะโดยมีจุดมุ่งหมายให้ได้ความรู้สอนศีลธรรมและให้บันเทิงด้วย ดังนั้นในการแปลจะต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของผู้แต่ง โดยลักษณะการแปลแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การแปลเป็นร้อยกรอง ซึ่งมุ่งเน้นทางเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษาโดยผู้แปลพยายามเล่นคำ เล่นความหมาย ให้ตรงกับต้นฉบับทุกจังหวะ ซึ่งเหมาะสำหรับการแปลภาษาที่มีฉันทลักษณ์แบบเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และการแปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต มีจุดประสงค์เพื่อเพียงการสื่อสารความคิด วัฒนธรรมอื่นๆในกวี ความสะดวกรวดเร็วและความชัดเจนของเนื้อหา แม้จะแปลเป็นร้อยแก้วแต่ก็ยังคงองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น จังหวะ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสอักษร และการเล่นคำ

                จะเห็นได้ว่าการแปลวรรณกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้แปลต้องมีความรู้ในเรื่องของประเภทของวรรณกรรมและหลักการแปลของวรรณกรรมแต่ละประเภท แต่อย่างไรก็ตามในการแปลย่อมมีปัญหา คือ ด้านความเข้าใจที่เกิดจากรูปแบบแปลกใหม่ของบทกวี ดังนั้นผู้แปลจึงจำเป็นต้องเข้าใจภูมิหลังของกวีมากพอสมควรจึงจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ได้ และการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยหลังจากที่เข้าใจความคิดของกวีนั้นแล้วก็จะสามารถหาคำแปลที่สั้นกะทัดรัดในจำนวนที่จำกัดตามลักษณะฉันทลักษณ์ได้ ซึ่งเป็นงานหนักมากของผู้แปลแต่ถ้าหากผู้แปลสามารถทำได้ผลงานแปลที่ออกมาจะมีคุณภาพ มีภาษาสำนวนที่สละสลวย และยังคงความหมายเหมือนเดิมตรงกับต้นฉบับ