การแปลบันเทิงคดี
บันเทิงคดี (Fiction) หมายถึง
เรื่องสมมติที่สร้างขึ้นมาอย่างมีจินตนาการและอารมณ์มุ่งให้ความเพลิดเพลินเป็นใหญ่
แต่ก็ให้ความรู้ด้วย มีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ
ผู้เขียนจะต้องมีจินตนาการ มีความสามารถคิดเรื่องที่สนุกน่าสนใจ
มีศิลปะในการใช้ภาษา มีประสบการณ์ มีความเข้าใจชีวิต
มีความรู้รอบตัวในศาสตร์ต่างๆอย่างดี
จึงจะเขียนบันเทิงคดีได้น่าอ่านและมีสารประโยชน์
1.องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี
บันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี
ทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา ในด้านเนื้อหาอาจเสนอเนื้อหาสาระที่มีความเป็นจริงบ้าง
ผู้เขียนจะสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์ในงายเขียนด้วย
มีจุดประสงค์หลักคือให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นจินตนาการของผึ่เขียนล้วนๆ
ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ
2 ประการ คือองค์ประกอบด้านภาษา
และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา
ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี
2.องค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีแบ่งออกเป็น
3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล
การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม
บทนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการใช้ภาษาที่มีความหมายแฝงและภาษาเฉพาะวรรณกรรมเท่านั้น
2.1 ภาษาที่มีความหมายแฝง
คำศัพท์ในภาษาใดๆประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษร
เช่น chicken หมายถึง “ไก่” แต่มีคำศัพท์จำนวนมากซึ่งนอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วย
เช่น
คำศัพท์
|
ความหมายตรงตัว
|
ความหมายแฝง
|
Chicken
|
ไก่ (สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง)
|
ขี้ขลาดตาขาว
|
ไก่
|
สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง
|
หญิงสาวอ่อนต่อโลก
|
รถไฟ
|
ยานพาหนะชนิดหนึ่ง
|
ชายหรือหญิงสองคนที่หมายปองบุคคลเดียวกัน (เช่น รถไฟสองขบวนชนกัน
น่ากลัวจะเกิดเรื่องใหญ่แน่)
|
นอกจากนี้ในกระบวนการแปลงานทุกชนิด
ผู้แปลไม่ควรใช้พจนานุกรม 2 ภาษาเพียงอย่างเดียว
ผุ้แปลควรใช้พจนานุกรมภาษาเดียว เช่น ไทย-ไทย, อังกฤษ-อังกฤษ หลายๆเล่ม
อีกทั้งยังต้องค้นคว้าหาความรู้จากหนังสืออ้างอิงประกอบการแปลด้วยพจนานุกรมเฉพาะสาขาต่างๆ
ฯลฯ
2.2 ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์
บันเทิงคดี
มีรูปแบบภาษาเฉพาะหลายชนิดซึ่งผู้แปลจะต้องรอบรู้และนำมาใช้อย่างเหมาะสม
รูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดีซึ่งเรียกว่าโวหารภาพพจน์ อาทิ โวหารอุปมาอุปไมย, โวหารอุปลักษณ์, โวหารเย้ยหยันเสียดสี,
โวหารที่ใช่ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด, โวหารที่กล่าวเกินจริง เป็นต้น
2.2.1 รูปแบบของโวหารอุปมาอุปไมย
โวหารอุปมาอุปไมย
คือ การสร้างภาพพจน์โดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง
อธิบายหรือเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น
2.2.2
รูปแบบของโวหารอุปลักษณ์
โวหารอุปลักษณ์
หมายถึง การเปรียบเทียบความหมายของสองสิ่งโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว
2.2.3
การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์
ในการแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ที่ปรากฏในภาษาไทยเป็นอังกฤษ
ผู้แปลต้องคำนึงถึงความจริงยางประการที่เกี่ยวกับภาษา
เป็นเครื่องสื่อสารซึ่งถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาติของชาตินั้น