โครงสร้างพื้นฐานของประโยค
นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษาในโลกนี้ออกเป็น
2 แบบ คือ
1. ภาษาที่มีภาคประธานและภาคแสดง
(subject-predicate) เป็นลักษณะเด่น เช่น แม่ ตี ลูก ภาคประธาน คือ
แม่ ส่วนภาคแสดงคือ กริยา ตี และ กรรม ลูก
2. ภาษาที่มีความหลัก
ตามด้วยความนำเสนอ (topic-comment) เป็นลักษณะเด่น
เช่น รองเท้านี้ ฉันใส่ไม่ได้ ความหลักคือ รองเท้านี้ ความนำเสนอ คือ ฉันใส่ไม่ได้
ในประโยค แม่ตีลูก แม่เป็นประธานกระทำกริยา ตี และลูก เป็น ผู้รับกระทำ
แต่ในประโยค รองเท้านี้ ฉันใส่ไม่ได้ นั้น รองเท้า มิได้เป็นประธาน ซึ่งทำกริยา ใส่
แต่เป็นการบอกให้ผู้ฟังทราบว่า ผู้พูดต้องการจะพูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ
รองเท้านี้ ดังนั้น รองเท้านี้ จึงเป็นความหลัก ไม่ใช่ประธาน และ ฉันใส่ไม่ได้
เป็นการบอกข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับความหลักว่า ผู้พูดใส่ไม่ได้ ความหลักและความนำเสนอไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เช่นเดียวกับ
ประธานและกริยา เพียงแต่มีความหมายสัมพันธ์กันก็พอ ดังนั้นในการแปลภายไทย
หลักการที่สำคัญคือต้องให้ได้ใจความของประโยคที่แปล โดยไม่ผิดไปจากความหมายเดิม
ไม่จำเป็นต้องรักษาทุก ๆ คำ การแปลคำต่อคำ มิใช่เป็นการแปลที่ถูกต้อง
แถมอาจจะสื่อความหมายที่ผิดไปจากข้อความต้นฉบับไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ผู้แปล
ที่ดีต้องรู้จักโครงสร้างของประโยคในภาษาทั้งสองที่ทำการแปล
ประโยคซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานนี้หมายถึงประโยคที่ประกอบด้วยประโยคเล็กๆมีคำน้อยๆใช้คำเฉพาะแต่ที่จำเป็นในแต่ละแบบแต่มีใจความสำคัญ
ถูกต้องตามหลักภาษา
สื่อความหมายกันได้อย่างตรงไปตรงมาแต่อาจจะขาดความไพเราะไม่สละสลวยไม่ได้รสชาติหรือรายละเอียดตรงตามความตั้งใจของผู้แต่งประโยคไปบ้าง
ในการแปลประโยคที่ซับซ้อนนั้นหรือที่เรียกว่าประโยคโครงสร้างลึกนั้นถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นหรือเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วจะช่วยให้การวิเคราะห์ความหมายของประโยคได้ดีขึ้น
ฮอร์นบีและคณะ
ได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner's Dictionary of Current English ไว้
25 รูปแบบ โดยถือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาเป็นหลักเรียกว่ากระสวนหรือแบบของคำกริยา
VP 1.…..Vb+ Direct Object
VP 2…..
Vb+ (not) to+ Infinitive, etc.
VP
3.….. Vb+ Noun or Pronoun+ (not)
to + Infinitive, etc.
VP 4.….. Vb+ Noun or Pronoun+ +(to be) +
Complement
VP
5.….. Vb +Noun or Pronoun +Infinitive,
etc.
VP 6.…..
Vto+ Noun or Pronoun +Present
Participle
VP 7.….. Vb+ Object +Adjective
VP
8.….. Vb+ Object+ Noun
VP 9.….. Vb+ object+ Past Participle
VP
10.….. Vb+ object+ Adverb or Adverbial Phrase, etc.
VP
11.….. Vb+ that-clause
VP
12.….. Vb +Noun or Pronoun +that
-clause.
VP
13.….. Vb +Conjunctive
to+Infinitive, etc.
VP 14.…..
Vb +Noun or Pronoun+ Conjunctive +to+ Infinitive, etc.
VP 15.….. Vb +conjunctive+ Clause
VP 16.….. Vb +Noun or Pronoun+Conjunctive +Clause
VP 17.….. Vb + Gerund, etc.
VP
18.….. Vb + Direct Object +Preposition
+Prepositional Object
VP 19.….. Vb + Indirect Object +Direct
Object
VP
20.….. Vb + (for) +
Complement of Distance. Time. Price, etc.
VP 21.….. Vb alone.
VP
22.….. Vb +Predicative
VP 23.….. Vb +Adverbial Adjunct
VP 24.….. Vb +Preposition +Prepositional
Object
VP
25.….. Vb +to+ Infinitive
แบบประโยคพื้นฐานของไนด้า
ประโยคพื้นฐาน kemel sentence ของไนด้ามี 7 แบบดังนี้
1. Noun+ Verb1
2 .Noun+ Verb2 + Noun
3. Noun+ Verb3+ Noun + Noun
4. Noun +Verb4+
Preposition +Noun
5. Noun+Verb4 +adjective
6. Noun + Verb4 + Indefinite article+ Noun
7. Noun + Verb4+
Definite article + Noun.
หมายเหตุ
1.Noun ที่อยู่หน้า verb1 เป็นประธานของประโยค
2. Noun ที่อยู่หลัง verb2 เป็นกรรม
3. Noun ที่อยู่หลัง verb3 คำแรกเป็นกรรมรอง คำหลังเป็นกรรมตรง
4 . Verb1 Verb2 Verb3 Verb4 หมายถึงคำกริยาประเภทต่างๆ ไนด้าได้แยกคำกริยาออกเป็น 4 ประเภท
( ดูประเภทของคำกริยาจากตัวอย่าง)
การแปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้น
ถ้าผู้แปลมีความสามารถมีความรู้ดีทั้งสองภาษาการตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคจะทำได้อย่างรวดเร็วเพียงแต่คิดในใจสำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยชำนาญการแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานจะช่วยได้มากดังนั้นการฝึกฝนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษหรือผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษสามารถแปลภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพื่อนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคตได้