วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

                หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดวิธีถ่ายเสียง(Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = keao
.ตารางเทียบพยัญชนะและสระ
พยัญชนะไทย
อักษรโรมัน
ตัวอย่าง
ตัวต้น
ตัวสะกด
ข ฃ ค ฅ ฆ


จ ฉ ช ฌ



ซ ทร (เสียง ซ)
ศ ษ ส



ฎ ฑ (เสียง ด) ด


ฏ ต
ฐฑ ฒ ถ ท ธ






ณ น

ผ พ ภ


ฝ ฟ

ล ฬ

ห ฮ
k
kh


ng
ch



s




y
d


t
th






n

b
p
ph


f

m
y
r
l

w
h

k
k


ng
t



t




n
t


t
th






n

p
p
p


p

m
-
N
N

-
-
กา = ka, นก = nok
ขอ = kho, สุข = suk
โคช = kho, ยุค = yuk
ฆ้อง = khong, เมฆ = mek
งาม = ngam, สงฆ์ = song
จีน = chin, อำนาจ =amnat
ฉิ่ง = ching
ชิน = chin, คช = khot
เฌอ = choe
ซา = sa, ก๊าซ = kat
ทราย = sai
ศาล = san, ทศ = thot
รักษา = raksa, กฤษณ์ = krit
สี = si, รส = rot
ญาติ = yat, ชาญ = chan
ฎีกา = dika, กฎ = kot
บัณฑิต = bandit, ษัท =sat
ด้าย = dai, เป็ด = pet
ปฏิมา = patima, ปรากฏ = prakot
ตา = ta, จิต = chit
ฐาน = than, รัฐ = rat
มณฑล = monthon
เต่า = thao, วัตน์ = wat
ถ่าน = than, นาถ = nat
ทอง = thong, บท = bot
ธง = thong, อาวุธ = awut
ประณีต = pranit, ปราณ = pran
น้อย = noi, จน = chon
ใบ = bai, กาบ =kap
ไป = pai, บาป = bap
ผา = pha
พงศ์ = phong, ลัพธ์ = lap
สำเภา = samphao, ลาภ = lap
ฝั่ง = fang
ฟ้า = fa, เสิร์ฟ = soep
ม้าม = mam
ยาย = yai
ร้อน = ron, พร = phon
ลาน = lan, ศาล = san
กีฬา = kila, กาฬ = kan
วาย = wai
หา = ha
ฮา = ha

การแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม

                การแปลวรรณกรรมช่วยให้คนที่อยู่ในแต่ละส่วนของโลกได้รับรู้เรื่องราว สภาพแวดล้อม ความคิด ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของถิ่นอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆซึมซับจนเกิดเป็นความเข้าใจคนเชื้อชาตินั้นๆได้ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมชิ้นเอกของโลกจำนวนไม่น้อยเขียนด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษอันถือเป็นภาษาสากลของโลก ดังนั้น การเลือกวรรณกรรมเพื่อแปลเป็นภาษาไทยยังต้องสรรหาบุคคลที่รู้ภาษาต่างประเทศนั้นๆดีพอที่จะแปลหนังสืออันทรง คุณค่าทางวรรณกรรมได้ด้วย บางครั้งการหาผู้แปลจากภาษาที่หนึ่งเป็นเรื่องยากลำบาก สำนักพิมพ์จึงมักแก้ปัญหาโดยหาผู้แปลจากภาษาที่สองแทนซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ การตัดสินใจดังกล่าวแม้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้แปลได้ แต่อาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆตามมามากมาย เนื่องจากทั้งสำนักพิมพ์และผู้แปลไม่อาจรู้ได้ว่าฉบับแปลภาษาอังกฤษนั้นเก็บใจความทุกอย่างและความรู้สึกทุกประการของตัวละครไว้ได้หรือไม่ อีกทั้งยังคงบริบททางวัฒนธรรมไว้ได้ครบถ้วนเพียงใด
วรรณกรรมเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งแบบร้อยแก้วและแบบร้อยกรอง โดยปกติวรรณกรรมนั้นเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภทบันเทิงคดี ซึ่งได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยายบทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและความรู้ แต่การแปลวรรณกรรมนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความหมายเดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับ ซึ่งผู้แปลนั้นจะต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง เพราะงานแปลลักษณะนี้เป็นงานศิลปะอย่างแท้จริง ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวหลักการแปลวรรณกรรมที่ประกอบไปด้วย หลักการแปลนวนิยาย หลักการแปลบทละคร หลักการแปลบทภาพยนตร์ หลักการแปลนิทาน นิยาย หลักการแปลเรื่องเล่า หลักการแปลการ์ตูนและหลักการแปลกวีนิพนธ์

Passive Voice

หลักการใช้ Passive Voice

โดยปกติประโยค active ที่กริยามีกรรมตามมา จะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยค passive ได้โดยความหมายทั่วไปไม่ได้เปลี่ยนไปมาก คือเอากรรมตัวนั้นมาอยู่ในตำแหน่งประธานแล้วตามด้วยกริยา be และเปลี่ยนกริยาเป็นช่อง สังเกตได้ว่าในประโยค passive  กรรม ของกริยาในประโยค active จะไปอยู่ในตำแหน่งประธาน  และต้องมี กริยา be  (ซึ่งแปลว่า "ถูก") และกริยาเดิมในประโยค active จะเปลี่ยนไปเป็นกริยาช่อง ส่วน ประธานในประโยค active จะไปอยู่ด้านหลังประโยคและมีคำว่า by นำหน้า
ประโยค Passive voice คือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือประโยคที่อยู่ในรูป Subject + Verb to be + Verb 3 (Past Participle) ซึ่งส่วนมากจะถูกเปลี่ยนจากประโยค Active voice (ประโยคที่อยู่ในรูป Subject + Verb1) แต่ก็ไม่ใช่แค่เอามาสลับที่กันเฉยๆ ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีเงื่อนไขเสมอ
สำหรับคำกริยาที่จะนำมาใช้ในประโยค Passive Voice ต้องเป็นคำกริยาที่มีกรรมเท่านั้น เพราะคำแปลจะต้องมีคำว่า ใครหรืออะไร ถูกทำอะไรเสมอ ส่วนคำว่า by ที่แปลว่าโดย บางครั้งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้พูด และบางประโยคไม่ต้องมีเลยก็ได้ เช่น
A fish was eaten. ปลาถูกกินไปแล้ว ประโยคนี้ต้องการสื่อแค่ว่าปลาถูกกิน ส่วนอะไรกินปลานั้นไม่สน
A fish was eaten by a cat. ปลาถูกกินไปแล้วโดยแมวตัวหนึ่ง ประโยคนี้เป็นการสื่อความแบบสมบูรณ์
Mr. Tom was arrested yesterday. นายทอมถูกจับกุมเมื่อวานนี้ ประโยคนี้ไม่ต้องใช้ by เพราะรู้อยู่แล้วว่าคนที่จับกุมคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
My watch was stolen last night. นาฬิกาของฉันถูกขโมยเมื่อคืน ประโยคนี้ก็ไม่ต้องบอกก็ได้ว่าใคร เพราะรู้อยู่แล้วว่าเป็นโจรย่องเบาแน่นอน

การแปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี

บันเทิงคดี (Fiction) หมายถึง เรื่องสมมติที่สร้างขึ้นมาอย่างมีจินตนาการและอารมณ์มุ่งให้ความเพลิดเพลินเป็นใหญ่ แต่ก็ให้ความรู้ด้วย มีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ ผู้เขียนจะต้องมีจินตนาการ มีความสามารถคิดเรื่องที่สนุกน่าสนใจ มีศิลปะในการใช้ภาษา มีประสบการณ์ มีความเข้าใจชีวิต มีความรู้รอบตัวในศาสตร์ต่างๆอย่างดี จึงจะเขียนบันเทิงคดีได้น่าอ่านและมีสารประโยชน์
1.องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี
บันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี ทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา ในด้านเนื้อหาอาจเสนอเนื้อหาสาระที่มีความเป็นจริงบ้าง ผู้เขียนจะสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์ในงายเขียนด้วย มีจุดประสงค์หลักคือให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นจินตนาการของผึ่เขียนล้วนๆ
ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือองค์ประกอบด้านภาษา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี
2.องค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม บทนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการใช้ภาษาที่มีความหมายแฝงและภาษาเฉพาะวรรณกรรมเท่านั้น

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
สิทธา พินิจภูวดล
                ภาษา  หมายถึง  เสียงที่เป็นคำพูดหรือถ้อยคำสำนวนที่ใช้พูดกัน  รวมทั้งกิริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ถูกต้องตรงกัน  แบ่งออกเป็น  ๒  ประเภทคือ
         ๑.  ภาษาที่เป็นถ้อยคำ หรือ วัจนภาษา  หมายถึงภาษาที่ใช้เสียงพูด หรือตัวอักษรที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยตกลงกันให้ใช้เรียกแทนสิ่งของ ความคิด หรือมโนภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์รับรู้จากประสาทสัมผัส
๒.  ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ  หรือ อวัจนภาษา  หมายถึง ภาษาที่เกิดจากกิริยาอาการต่างๆ  ที่แสดงออกมาทางร่างกาย หรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นแล้วผู้อื่นเกิดความเข้าใจความหมายได้โดยไม่ต้องอาศัยภาษาพูดหรือภาษาเขียนเป็นสื่อ
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิดระหว่างมนุษย์มาแต่โบราณ  ถ้าไม่มีภาษาสังคมมนุษย์ย่อมไม่สามารถพัฒนามาจนถึงปัจจุบันได้  ในโลกนี้มีภาษาอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐  ภาษา  ลักษณะที่ถือว่าเป็นธรรมชาติของภาษามีดังนี้
๑.      ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย
มนุษย์แต่ละชาติมีการกำหนดเสียงที่ใช้สื่อสารกันเพื่อสื่อความหมาย  ภาษาจึงเป็นสิ่งที่สังคมร่วมกันกำหนดขึ้นที่จะให้เสียงใดมีความหมายอย่างใด เสียงในภาษาแต่ละภาษาจึงต่างกัน  เช่น  เสียงในภาษาไทยประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์  ในขณะที่เสียงในภาษาอังกฤษจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์  เป็นต้น
๒.    หน่วยในภาษาประกอบกันเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นได้
ภาษาประกอบด้วยหน่วยต่างๆ เรียงจากหน่วยที่เล็กไปเป็นหน่วยที่ใหญ่ได้ดังนี้
๒.๑  เสียง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษา  แบ่งเป็น เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียง  วรรณยุกต์
๒.๒  พยางค์  เกิดจากการนำหน่วยเสียงในภาษามาประกอบกัน อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
๒.๓  คำ  เกิดจากพยางค์ที่ได้กำหนดความหมาย เมื่อกำหนดความหมายให้พยางค์นั้นก็จะกลายเป็นคำใช้สื่อสารได้

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค              

นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษาในโลกนี้ออกเป็น 2 แบบ คือ
1. ภาษาที่มีภาคประธานและภาคแสดง (subject-predicate) เป็นลักษณะเด่น เช่น แม่ ตี ลูก ภาคประธาน คือ แม่ ส่วนภาคแสดงคือ กริยา ตี และ กรรม ลูก
2. ภาษาที่มีความหลัก ตามด้วยความนำเสนอ (topic-comment) เป็นลักษณะเด่น เช่น รองเท้านี้ ฉันใส่ไม่ได้ ความหลักคือ รองเท้านี้ ความนำเสนอ คือ ฉันใส่ไม่ได้
ในประโยค แม่ตีลูก แม่เป็นประธานกระทำกริยา ตี และลูก เป็น ผู้รับกระทำ แต่ในประโยค รองเท้านี้ ฉันใส่ไม่ได้ นั้น รองเท้า มิได้เป็นประธาน ซึ่งทำกริยา ใส่ แต่เป็นการบอกให้ผู้ฟังทราบว่า ผู้พูดต้องการจะพูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ รองเท้านี้ ดังนั้น รองเท้านี้ จึงเป็นความหลัก ไม่ใช่ประธาน และ ฉันใส่ไม่ได้ เป็นการบอกข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับความหลักว่า ผู้พูดใส่ไม่ได้ ความหลักและความนำเสนอไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เช่นเดียวกับ ประธานและกริยา เพียงแต่มีความหมายสัมพันธ์กันก็พอ ดังนั้นในการแปลภายไทย หลักการที่สำคัญคือต้องให้ได้ใจความของประโยคที่แปล โดยไม่ผิดไปจากความหมายเดิม ไม่จำเป็นต้องรักษาทุก ๆ คำ การแปลคำต่อคำ มิใช่เป็นการแปลที่ถูกต้อง แถมอาจจะสื่อความหมายที่ผิดไปจากข้อความต้นฉบับไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ผู้แปล ที่ดีต้องรู้จักโครงสร้างของประโยคในภาษาทั้งสองที่ทำการแปล                
ประโยคซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานนี้หมายถึงประโยคที่ประกอบด้วยประโยคเล็กๆมีคำน้อยๆใช้คำเฉพาะแต่ที่จำเป็นในแต่ละแบบแต่มีใจความสำคัญ ถูกต้องตามหลักภาษา สื่อความหมายกันได้อย่างตรงไปตรงมาแต่อาจจะขาดความไพเราะไม่สละสลวยไม่ได้รสชาติหรือรายละเอียดตรงตามความตั้งใจของผู้แต่งประโยคไปบ้าง ในการแปลประโยคที่ซับซ้อนนั้นหรือที่เรียกว่าประโยคโครงสร้างลึกนั้นถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นหรือเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วจะช่วยให้การวิเคราะห์ความหมายของประโยคได้ดีขึ้น 

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)

การทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก
ปกติแล้วการทับศัพท์คือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำ หรือตามทฤษฎีคืออักษรต่ออักษร การทับศัพท์ได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำทับศัพท์ได้ และเพื่อที่จะบรรลุจุดประสงค์นี้ จึงมีการกำหนดหลักการทับศัพท์ที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย ความหมายอย่างแคบของการทับศัพท์คือ การทับศัพท์แบบถอดอักษร (transliteration) ซึ่งเคร่งครัดในการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา ตัวอย่างหนึ่งของการถอดอักษรคือการใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ พิมพ์แทนภาษาอื่นที่ใช้ตัวอักษรต่างออกไปเช่นภาษารัสเซียเนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้
เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรโรมัน จึงมีความจำเป็นที่จะศึกษาแนวทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือการสื่อสารในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น นับว่าการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทยแก่ต่างประเทศ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมี 2 วิธี คือ การถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration) และการถอดอักษรตามวิธีอ่าน หรือการถอดอักษรแบบถ่ายเสียง (Transcription)

Text Types

ประเภทของข้อความ (Text Types)

                จุดประสงค์ของงานเขียนคือเพื่อให้ข้อมูล ชักชวนหรือเพื่อความบันเทิง ทุกงานเขียนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ความหมายของบทความ และลักษณะที่น่าสังเกตของบทความในหนังสือพิมพ์ไว้ พอสรุปได้ว่า บทความ หมายถึง เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น แตกต่างจากบันเทิงคดี บทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่องพื้นๆ ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่าน บทความอาจมีการเน้นเนื้อหาที่ตัวเหตุการณ์และแนวโน้มในอนาคต ฉะนั้น บทความจึงเป็นความเรียงประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์หลายลักษณะ เช่น เพื่อแสดงความรู้ เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์
1. Descriptive writing (การเขียนบรรยาย) มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึงบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ จนกระทั่งผู้อ่านมีภาพของสิ่งนั้นในใจ ผู้เขียนต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจน เป็นจริงเป็นจัง จนเสมือนกับการระบายสีภาพสำหรับผู้อ่าน
 การเขียนบรรยาย (Descriptive) มีรูปแบบการเขียน คือ รายงานการสังเกตและข้อเขียนเชิงบรรยาย การเขียนประเภทการบรรยายนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในการเขียนประเภทการเล่าเรื่องและการอธิบายเป็นแบบที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างว่า ดูเป็นอย่างไร สัมผัสอย่างไร รสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร เพื่อให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่าน โดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส ข้อเขียนอาจเป็นการบรรยายเป็นรายการ คือให้รายละเอียดจุดต่อจุด หรือบรรยายเป็นเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล
2. Narrative writing (การเขียนเรื่องเล่า) เรียงความแบบเล่าเรื่องเป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล รูปแบบจะเหมือนบทสนทนากับผู้อ่านโดยเน้นไปที่ประเด็นตามความเห็นของผู้เขียน สามารถใส่บทสนทนาเพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สนทนาได้ดีขึ้น โดยหัวข้อจะเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นปกติและไม่ปกติเรื่องราวจะบอกเล่าเป็นลำดับ ว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไรจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบเรื่อง

MODEL1: Relations between ideas

MODEL1: Relations between ideas
Essay คือ เรียงความหรือบทความซึ่งเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ มีรายละเอียดในการเขียน ดังนี้
ขั้นตอนในการเขียน Essay
1. Planning : เมื่อทราบหัวข้อในการเขียน Essay แล้ว ขั้นตอนแรก คือ การจัดระบบความคิด กำหนดกรอบเนื้อหา โดยต้องตัดสินใจว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง และพูดอย่างไร โดยเนื้อหาที่คิดว่าจะพูดเหล่านั้น ต้องไปด้วยกันได้และไม่หลงประเด็นออกนอกเรื่อง
2. Drafting : ขั้นตอนที่สอง ต้องนำกรอบเนื้อหาที่ตัดสินใจว่าจะเขียนจากในข้อ 1 มาลองร่างดูให้เกิดเป็นเค้าโครงคร่าวๆของ Essay ขึ้น โดยมีการเรียงลำดับให้เค้าโครงเนื้อหาเหล่านั้นดูกลมกลืนลื่นไหล ไม่กระโดดไปกระโดดมาค่ะ
3. Writing : ขั้นตอนที่สามอันสำคัญยิ่ง คือ การลงมือเขียน Essay ตามที่ได้ร่างเอาไว้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆของ Essay จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไปนะคะ
4. Editing : ขั้นตอนที่สี่ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนที่สาม เนื่องจากเป็นขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตรวจทานให้ Essay ที่เราเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด พร้อมที่จะออกไปสู่สายตาประชาชนได้อย่างเต็มภาคภูมิ
โครงสร้างของ Essay ประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆดังนี้
               1. Introduction: เป็นย่อหน้าแรกของ Essay ใช้ในการเปิดเรื่อง Introduction ที่ดี ควรจะสามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากจะอ่าน Essay ของเราต่อจนจบ โดยภายใน Introduction มี Thesis Statement ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ Title ที่กำหนดไว้ Thesis Statement เป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวอะไร