Learning Log (ในห้องเรียน)
(Oct 29th - 30th , 2015)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
ในครั้งนี้ของดิฉันที่มีโอกาสได้เข้าร่วมรับฟังตลอดทั้งสองวันเป็นการอบรมที่มีประโยชน์มาก
ได้รับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ๆที่หลากหลายจากท่านวิทยากรที่มากความสามารถและเก่ง
ได้แก่ หัวข้อแรก การเสวนาวิชาการงานวิจัยโดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว อ.สุนทร บุญแก้ว
และผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ ในหัวข้อ Beyond Language Learning และหัวข้อต่อมาซึ่งเป็นหัวข้อที่จัดอยู่ในช่วงเช้าของวันแรกในการอบรม
คือ ความรู้เชิงบูรณาการของครูสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่าง
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเตรียมรับมือกับการสอนเด็กให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประเทศอาเซียน
ประเด็นแรกการเสวนาวิชาการงานวิจัยโดยท่านวิทยากรทั้ง
3 ท่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ คือ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยของเรา จาก ดร.สุจินต์ หนูแก้ว ได้แก่
ทักษะที่เหมาะกับคนในศตวรรษที่ 21 คือ
มีทักษะการคิดวิเคราะห์ (critical thinking)
คนในปัจจุบันสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้หลายช่องทาง
แหล่งที่สามารถรับข่าวสารใกล้ตัวที่สุด คือ โทรศัพท์มือถือ
มีข้อมูลให้อ่านหลากหลาย แต่ข้อมูลที่ได้รับเด็กบางคนแยกแยะไม่ได้ วิเคราะห์ไม่ได้
ว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ในกรณีตัวอย่างเช่น
นำข้อสอบมาให้เด็กฝึกทำโดยข้อสอบมีการปะปนทั้ง words, phrase, sentence ให้เด็กแยกแยะจำแนก การที่เด็กจะจำแนกแยกแยะ
คำเหล่านี้ได้จะต้องมีเกณฑ์การจำแนก อ.สุนทร บุญแก้ว
นำภาษาอังกฤษมาปรับใช้ในห้องเรียน
ให้เด็กฝึกนำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยใช้สถานการณ์ใกล้ตัว เช่น วิธีทำซุบหน่อไม้
และพบว่าเด็กการท่องเที่ยวอ่านคำศัพท์ผิด
จึงคิดหาวิธีแก้ปัญหานี้โดยการจัดเด็กไปทดลองศึกษาในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์
ระยะเวลา 3 เดือน
ผลที่ได้ คือ ทำให้เด็กมีความมั่นใจในการพูดภาษามากยิ่งขึ้น เรียนรู้วัฒนธรรม
สภาพแวดล้อม โดยมีนโยบายคือ 24/7 หมายถึง
เด็กสามารถเรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน
ประเด็นที่สอง
ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดย ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร เป็นท่านวิทยากรที่น่ารัก
เป็นกันเอง บรรยายสนุกไม่น่าเบื่อ สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ
ที่มาการเป็นภาษาสากลของภาษาอังกฤษ ได้แก่ ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากลที่ใช้ในโลก internet อันดับ 1 ในโลก social
network เช่น facebook, instagram เป็นต้น
ในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยมักมีการใช้คำที่ผิดบ่อยๆ เช่น chill chill ซึ่งมันไม่ถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษ คือเจ้าของภาษาไม่ใช้พูดกัน
นั่นต้องแก้เป็น chill out ส่วน freshy ก็ไม่มี เจ้าของภาษาจะคำว่า freshman
และยังมีคำศัพท์ที่บัญญัติ ขึ้นใหม่ในพจนานุกรมคำศัพท์ oxford
ใน 2013 คือ Selfy ที่ถือกำเนิดมาจากประเทศออสเตรเลีย
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในช่วงเช้า
คือ วิธีการสอนให้เด็กรู้จักการคิดวิเคราะห์
ครูสามารถออกข้อสอบอย่างไรให้เด็กฝึกวิเคราะห์เป็น และการพาเด็กไปเรียนรู้กับเจ้าของภาษาที่ประเทศสิงคโปร์
การอบรมช่วงบ่ายท่านวิทยากรเปิดประเด็นการอบรมเรื่อง
การออกเสียง
เริ่มจากการภาษาการพูดระหว่างผู้ชายและผู้หญิงที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
และต่อด้วยการเล่นเกมหาคำศัพท์ที่เราสามารถนำมาใช้ได้ในชั้นเรียนจริงของเรา
ทำให้เด็กสามารถจำคำศัพท์และเพิ่มคำศัพท์ในคลังความรู้ของเขาเพิ่มมากขึ้น
การออกเสียง
เริ่มจากความแตกต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง คือ
การออกเสียงของผู้หญิงจะเสียงสูงกว่าผู้ชาย ผู้หญิงจะมี adj. มากกว่าผู้ชาย เช่น เลิศ ดีงาม ผู้หญิงจะมี question
tag มากกว่าผู้ชาย เช่น เธอชอบกาแฟใช่มั้ย
และสุดท้ายผู้หญิงส่วนใหญ่จะพูดสุภาพกว่าผู้ชาย ที่มาของความแตกต่างเหล่านี้คือ
ผู้หญิงสมัยก่อนจะไม่ได้เรียนหนังสือเป็นแม่บ้านศรีเรือนและไม่ได้ออกไปพูดคุยกับคนภายนอกมากทำให้ไม่มีความมั่นใจเหมือนกับผู้ชาย
และปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การพูดเพื่ออยู่รอด
การพูดเพื่อความมั่นคงและความปลอดภัย การพูดเพื่อเข้าสังคม
สร้างความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพื่อนๆ
กรพูดเพื่อสร้างความมั่นใจกับตนเองและผู้อื่น
ซึ่งการพูดเหล่านี้จะใช้ภาษาที่มีเป้าหมายที่ต่างกัน จะใช้ภาษาไม่เหมือนกัน
และปัจจัยการพูดต่างๆเหล่านี้ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไป
โดยในศตวรรษที่ 21 เด็กต้องใช้ search engine เป็นที่รู้จักใช้และรู้จักวิเคราะห์ข่าวสารเป็น
ภาษาที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเป็นรูปย่อ เช่น TC: Take care, U2: You
too. ในคำบางคำขึ้นอยู่กับบริบทที่ผู้ที่ส่งสารต้องการสื่อ เช่น LOL:
Lots of Love WTF: Welcome to Facebook เป็นต้น
หากครูออกเสียงผิดจะทำให้เด็กเข้าใจผิดไปด้วย
การที่ออกเสียงผิดจะทำให้ความหมายเปลี่ยนทันที เช่น /r/ เป็น
/l/ = turn right – turn light.
การเล่นเกมหาคำศัพท์
ดิฉันได้เรียนรู้ว่า การเรียนคำศัพท์เด็กไม่จำเป็นต้องเรียนด้วย
การท่องจำคำศัพท์เพียงอย่างเดียว เราอาจจะหาเกมสนุกๆมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น
เกมค้นหาคำศัพท์ จากคำที่ครูกำหนดให้ และใครได้คำศัพท์มากสุดชนะ
ข้อจำกัดในการเล่นเกมก็คือ จะหยุดเล่นเกมเมื่อเด็กสนุกเต็มที่จนเริ่มอิ่มตัวหรือเล่นเพียงรอบเดียวต่อหนึ่งครั้งในการสอน
จะทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อ นอกจากนี้หากเราไม่ถนัดในการสอนแบบเกม
อาจจะใช้การสอนด้วยเพลง คือ ใช้เพลงสั้นๆจดจำได้ง่าย เป็นคำคล้องจอง
และประกอบท่าทาง และการเล่านิทานโดยออกเสียงให้ถูก เป็นต้น
ดังนั้นการเรียนภาษาอังกฤษอย่างง่ายด้วยการเริ่มต้นจากการฟัง
หากออกเสียงผิดอาจจะทำให้ความหมายเปลี่ยน การฝึกออกเสียงซ้ำๆบ่อยๆ
จะทำให้เราออกเสียงถูกต้องและมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นและพื้นฐานของการพูดภาษาอังกฤษ
คือ คำศัพท์ หากเราส่งเสริมคิดหาวิธีการสอนในการฝึกเพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับเด็ก
โดยการเพลงหรือเกมจะทำให้เขานำมาประยุกต์ใช้ได้จริง
การอบรมวันที่สองเป็นการอบรมวันสุดท้ายที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ
โดย ผศ.ดร ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
เป็นวิทยากรที่มีความสามารถมากเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระประสบการณ์การต่างๆที่ท่านได้จาก
การเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ มสธ.
วิยากรที่มากประสบการณ์และทำงานด้านต่างๆมากมาย ประเด็นแรกของการอบรม คือ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต และต่อมา คือ การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการบรรยายจากหัวข้อใหญ่ คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่
21 ที่มีหลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล
วิธีการสอนแบบตรง วิธีสอนแบฟัง – พูด
ซึ่งเป็นแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา
ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นแรก
คือ วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปล จุดประสงค์ของการสอนหรือจุดมุ่งหมายของวิธีการสอนนี้
คือ ไม่เน้นการฟังและการพูด แต่จะเน้นการเรียนไวยากรณ์และการแปล
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านตำราและวรรณคดีภาษากรีกและภาษาละตินได้
ไม่เน้นการฟังแต่จะเน้นการท่องจำคำศัพท์ วิธีสอนแบบตรง อิงแนวคิดที่ว่า ภาษาหมายถึง
ภาษาพูด คนที่เก่งจริงคือคนที่พูดได้ ไม่ใช่คนที่เขียนได้ เช่น
พ่อแม่พูดภาษาอังกฤษกับลูกในชีวิตประจำวัน เป็นวิธีการสอนแบบตรงที่ดี
วิธีสอนแบบฟัง – พูด เป็นพื้นฐานสู่การอ่านและเขียน
มีวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เน้นการท่องจำบทสนทนาแล้วให้เด็กเขียนและอ่าน วิธีการวอนแบบเงียบ
เน้นความรู้ความเข้าใจ วิธีการสอนแบบชักชวน เป็นการสอนที่ต้องใช้เวลา
วิธีการสอนด้วยท่าทาง
ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นที่สอง
คือ ครูในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีวิธีการสอนแบบใหม่ๆมาใช้กับผู้เรียน
เช่น สร้างบทเรียนบนมือถือทำให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนเองมี
วิธีแนวทางการเรียนการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมที่สอดรับการสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 คือ The flipped Classroom เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่
เมื่อวิธีนี้คือการนำสิ่งที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้านและนำสิ่งที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้านและนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน
องค์ประกอบของห้องเรียนกลับทาง คือ
ครูต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ชัดเจน
และสร้างวิธีสอบเพื่อพิสูจน์ว่านักเรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์
รูปแบบนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น เนื่องจากรู้ล่วงหน้ามาแล้วจากบ้าน
เหลือเวลาสำหรับเติมสิ่งอื่นๆโดยเฉพาะทักษะการคิด วิเคราะห์
ดังนั้น
การบูรณาการสอน ครูสามารถเลือกวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และครูต้องเลือกวิธีให้สอดรับกับศตวรรษที่ 21 ครูอาจจะออกแบบให้ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์
และในศตวรรษที่ 21 ที่เราไม่ได้ต้องการให้เด็กเรียนเก่ง
แต่ต้องการเด็กที่มีความรู้รอบตัว
ครูจึงต้องสอนแต่สิ่งสำคัญแล้วฝึกให้เด็กสามารถไปต่อยอดเองได้
ในช่วงบ่ายของวันสุดท้ายของการอบรมท่านวิทยากร
เห็นว่าผู้เข้าอบรมทุกคนเริ่มง่วงนอน
เนื่องจากช่วงเช้าได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีการสอนล้วนๆ
และทุกคนอิ่มท้องจากอาหารมื้อเที่ยง ท่านวิทยากรให้พวกเราแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม
เป็นการทำกิจกรรมกลุ่ม จำลองห้องเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลอดช่วงบ่าย
มีทั้งการเล่านิทาน การวาดรูปและการภาษาอังกฤษในการนำเสนอนิทานโดยสรุป
การบูรณาการสอนด้วยวิธีต่างๆโดยการนำเกมมาบูรณาการจะเป็นการสอนที่สนุกและได้รับความรู้ทำให้ชั้นเรียนไม่น่าเบื่อ
แต่การสอนที่เหมาะกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ สอนให้เด็กคิด แก้ปัญหาได้ ใช้สื่อที่ทันสมัยได้อย่างถูกต้อง
รู้จักค้นคว้าสิ่งต่างๆในอินเทอร์เน็ต
และมีแหล่งข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาวิเคราะห์สิ่งที่เหมาะสมได้
ซึ่งครูสามารถหาวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ เช่น
เริ่มสอนจากสิ่งรอบตัวก่อน การสอนภาษาอังกฤษกับสิ่งที่ใกล้ตัวจะทำให้เราจดจำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ครูอาจใช้เกม นิทาน เพลง การวาดภาพ บทบาทสมมติ และท่องคำคล้องจอง ซึ่งในที่นี้
ท่านวิทยากรศิตาได้นำวิธีการสอนทั้งการเล่านิทาน เพลง การวาดภาพ และการสรุปความ
มาใช้ในการอบรมโดยจำลองเป็นห้องเรียน อันดับแรกให้ทุกคนออกไปเล่านิทานคนละประโยคจำนวนยี่สิบประโยค
โดยเล่าต่อๆกันจนจบ การเล่านิทานก็เป็นการฝึกพูดภาษาอังกฤษ
และกิจกรรมที่สนุกต่อมาคือร้องเพลง โดยเป็นการร้องเพลงประกอบท่าเต้น
ผู้เข้าอบรมทุกคนจับคู่กันร้องเพลง เป่า ยิง จุ๊บ
และใครที่แพ้ก็ให้ไปต่อด้านหลังของผู้ชนะ และให้คนชนะไปเป่า ยิง จุ๊บกับอีกคู่หนึ่ง
คู่ไหนแพ้ให้ไปต่อหลังคนที่ชนะต่อไปเรื่อยๆ เกมนี้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์
โดยใช้เนื้อเพลงที่คล้องจองกันเป็นวรรคตอน ทำให้ผู้เรียนจดจำได้แม่นยำ
เหมาะสำหรับผู้เรียนระดับปฐมวัย
กิจกรรมต่อมาหลังจากพักเบรก
10 นาที คือ การวาดภาพด้วยตนเองจากนิทานที่ได้ฟังจากช่วงบ่าย
โดยมีอุปกรณ์ คือ กระดาษ ดินสอ ดินสอสี เตรียมมาให้
โดยมีกติกาว่าให้ผู้เรียนวาดรูปภาพที่ได้ฟังจากนิทานด้วยจินตนาการของตนเอง
ภายในเวลาที่กำหนดให้ หลังจากที่ผู้เรียนวาดภาพเสร็จแล้ว
ครูก็ให้ผู้เรียนส่งตัวแทนออกไปนำเสนอ โดยในการนำเสนอมีกติกาอยู่ว่าให้นำเสนอด้วยการพูดเป็นภาษาอังกฤษ
ท่ไม่เกิน 3 ประโยค เล่าแบบสรุปใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง
การวาดภาพในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดด้วยการจินตนาการเป็นภาพ
การจินตนาการจะทำให้ผู้เรียนมีความสุข
เพราะในโลกแห่งการจินตนาการเขาจะเป็นคนที่เก่งสุด ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้เมื่อเขาอยากเป็น
อีกทั้งการออกมาเล่าเป็นการพัฒนาภาษาที่ดี
หากครูผู้สอนให้เด็กได้กิจกรรมที่ใช้จินตนาการบ่อยๆจะทำให้มีทักษะการคิดที่ดี
เรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์