วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (นอกห้องเรียน) (Aug 11th ,2015)

Learning Log (นอกห้องเรียน)
(Aug 11th ,2015)
กลยุทธ์ในการเรียนภาษา (อ.สมศีล ญาณวังศะ)
                ในยุคการจัดการเรียนการสอนกำลังเฟื่องฟูได้มีการจัดระบบการศึกษาที่หลากหลายมากยิ่งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร โดยการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆต้องมีสองด้านคือ ความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคทฤษฎีจะอยู่ในห้องเรียนและทักษะการฝึกฝน เป็นการปฏิบัติ ถ้าเราเรียนเพียงแค่ทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติจะทำให้ไม่เกิดการบรรลุเป้าหมาย คือ สามารถใช้ภาษาได้ และถึงแม้ว่าการสอนภาษาอังกฤษจะพัฒนาไปมากแต่ยังคงปัญหาเดิมในการเรียนการสอน คือ ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจึงได้โทษว่านักเรียนสมัยนี้ควรจะเก่งกว่าสมัยก่อนคือมีโอกาสต่างๆ ในการพบภาษาอังกฤษมากกว่าสมัยก่อน แต่คนส่วนใหญ่มักมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอก คือ โทษครูผู้สอน ตำราเรียน สถานศึกษา นโยบายของรัฐและสิ่งแวดล้อม
                เมื่อเราได้พบเห็นปัญหาต่างๆต้องยอมรับว่ามีอยู่ไม่มากก็น้อยแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือปัญหาที่ได้พบเจอเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาหลัก นอกจากมีปัจจัยที่หลายอย่างที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สั่งสมมานานและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเกินที่จะไปแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องผู้สอนสื่อการเรียนการสอน และการบริหารการจัดการ ถึงแม้ส่าระบบการศึกษาภาษาอังกฤษมีปัญหาปรากฏว่ายังมีผู้เรียนส่วนน้อยที่เก่งภาษาอังกฤษ หากเราต้องการการแก้ไขปัญหาคงต้องย้อนกลับไปพิจารณาดูเหตุปัจจัยที่สำคัญ เหตุปัจจัยภายนอกที่สำคัญ เช่น มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริง และเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวที่มีคุณภาพส่วนปัจจัยภายใน คือ เป็นผู้ที่มีความถนัดในการเรียนภาษา มีเจตคติที่ดีต่อภาษาที่เรียน

                เราได้พิจารณาแล้วว่า ตัวผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด แต่มองคนส่วนใหญ่มักละเลยตรงจุดนี้และโทษปัจจัยภายนอกตลอด สิ่งที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษควรมองข้อดีและประโยชน์ให้มากที่สุด และหันกลับมาพึ่งตัวเองมากขึ้น การพึ่งตัวเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิผลนั้นต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบ คือ เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายวางแผนว่าเราจะพูด อ่าน เขียน หรือแล ได้มากน้อยแค่ไหนภายในกรอบเวลาเช่น ภายใน 3 เดือน สามารถอ่านข่าวและบทความหนังสือพิมพ์รายวันได้เข้าใจเป็นส่วนใหญ่ได้ เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้วก็ต้องรู้จักจัดเตรียมหาสื่อที่ตนเองต้องการฝึกทักษะด้วยตนเอง เช่น แหล่งท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์รายวัน คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เมื่อจัดเตรียมหาสื่อพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน แม้ว่าผู้เรียนจะมีวิธีการเรียนที่ต่างกัน แต่สามารถนำกลยุทธ์ไปปรับใช้ตามความเหมาะสม ไม่จำกัดเฉพาะภาษาและอาจนำไปปรับประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาอื่นๆได้อีกด้วย
                กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ ได้แก่ ศึกษา-ฝึกฝน-สังเกต-จดจำ-เลียนแบบ-ดัดแปลง-วิเคราะห์-ค้นคว้า-ใช้งาน-ปรับปรุง การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนมีอยู่ 2 ด้านคือ ศัพท์กับไวยากรณ์ ศัพท์เป็นถ้อยคำที่ใช้แทนความหมาย ส่วนไวยากรณ์ คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการนำถ้อยคำมาร้อยเรียงประกอบกันเป็นวลี ประโยคเพื่อใช้สื่อความหมายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ฝึกฝน การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ คือ ต้องใช้ความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคทฤษฎี ส่วนทักษะเป็นภาคปฏิบัติ การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ต้องฝึกย่อมไม่อาจให้บรรลุเป้าหมายคือสามารถใช้ภาได้ การฝึกฝนภาษาให้ได้ผล จำต้องผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่กัน คือ ตาดู หูฟัง ปาพูด มือเขียน หัวคิด ใจรัก ทั้ง 6 ข้อนี้ อาจเรียกว่า อินทรีย์ 6 ในการเรียนภาษา สังเกต เนื่องจากภาษามีเนื้อหามาก ผู้เรียนต้องฝึกเป็นคนสังเกตมีความละเอียดถี่ถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์ โวหาร สำนวน ตลอดจนสุภาษิต
                ในยุคการปฏิรูปการศึกษากำลังเฟื่องฟูนี้ มีนักศึกษาตำหนิว่าการเรียนแบบท่องจำเป็นวิธีเรียนที่ล้าสมัย ไม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แต่ความจริงความจำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกชนิดกิจกรรมบางอย่างปล่อยให้จำเองตามธรรมชาติจากการฝึกฝนบ่อยๆแต่การเรียนภาษาแบบปกติคงไม่พอต้องอาศัยการท่องจำเพิ่มด้วย เพราะสิ่งที่จดบันทึกไว้สามารถใช้ตรวจสอบหรืออ้างอิงไว้ในภายหลัง การเรียนภาษาต้องใช้การเลียนแบบ เพราะแต่ละภาษาจะมีสัญนิยมเป็นของตนเอง ผู้เรียนก็ต้องยอมรับและนำไปใช้ตามข้อแตกต่างระหว่างการเรียนภาษาแม่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมเจ้าของภาษา จึงมีแหล่งข้อมูลความรู้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่าที่จะใช้เป็นแบบอย่างในการฝึกก็ตาม ในขณะที่ผู้เรียนภาษาจะมีข้อเสียในเรื่องนี้อย่างมากเพราะขาดแคลน แบบที่ใช้เลียนทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เมื่อเลียนแบบแล้วต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ต่างๆ การที่เราจะดัดแปลงได้ต้องรู้เรื่องไวยากรณ์กับคำศัพท์และสำนวนโวหารต่างๆเป็นพื้นฐานสำคัญ
                5 เทคนิคฝึกพูดภาษาอังกฤษให้พูดเก่งขั้นเทพ ขั้นแรกคือ เริ่มต้นจากการฟังโดยที่เลือกฟังสื่อที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเรา และต้องหมั่นฟังเสมอ ฟังวันละหนึ่งชั่วโมงขึ้นไป ต่อไปคือเลิกท่องศัพท์แบบเดิม หันมาใช้วิธีเรียนรู้ศัพท์แบบเป็นภาพ เป็นเรื่องราวแทน และการท่องแกรมมาร์ไว้เพื่อสอบ ท่องไว้เขียนเรียงความ การที่เราอยากพุดภาษาอังกฤษให้คล่อง ต้องพูดได้อย่างเป็นอัตโนมัติ คือ การพูดแบบอัตโนมัติ ฟัง-คิด-พูด ต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยไม่มีการแปลไทย เพราะฉะนั้น เราควรพยายามพุดให้คล่องที่สุดสาเหตุที่เราพูดไม่คล่องคือเรานึกเป็นไทยขึ้นมาก่อน เราต้องคิดเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษแล้วเราจะพูดคล่อง และเทคนิคสุดท้ายคือ เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมือนอยู่เมืองนอกให้มากที่สุด
                ในการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษและการใช้ภาษาในชีวิตจริง ผู้เรียนภาษาที่ดีได้ต้องช่างสังเกตและเรียนรู้ข้อผิดพลาดในทุกๆด้าน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่เพื่อวัดความก้าวหน้าแต่ละด้านในการใช้ภาษาในด้านนั้น และกลยุทธ์ทั้งหมดจำเป็นต้องนำมาใช้บ่อยๆ ซึ่งจะเกิดผลเพราะว่าการเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินไปตลอดชีวิต ความรู้ความสามารถมนการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องบ่มเพาะสะสมเป็นเวลานานจึงนำไปใช้ได้ถูกต้อง