วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

                หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดวิธีถ่ายเสียง(Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = keao
.ตารางเทียบพยัญชนะและสระ
พยัญชนะไทย
อักษรโรมัน
ตัวอย่าง
ตัวต้น
ตัวสะกด
ข ฃ ค ฅ ฆ


จ ฉ ช ฌ



ซ ทร (เสียง ซ)
ศ ษ ส



ฎ ฑ (เสียง ด) ด


ฏ ต
ฐฑ ฒ ถ ท ธ






ณ น

ผ พ ภ


ฝ ฟ

ล ฬ

ห ฮ
k
kh


ng
ch



s




y
d


t
th






n

b
p
ph


f

m
y
r
l

w
h

k
k


ng
t



t




n
t


t
th






n

p
p
p


p

m
-
N
N

-
-
กา = ka, นก = nok
ขอ = kho, สุข = suk
โคช = kho, ยุค = yuk
ฆ้อง = khong, เมฆ = mek
งาม = ngam, สงฆ์ = song
จีน = chin, อำนาจ =amnat
ฉิ่ง = ching
ชิน = chin, คช = khot
เฌอ = choe
ซา = sa, ก๊าซ = kat
ทราย = sai
ศาล = san, ทศ = thot
รักษา = raksa, กฤษณ์ = krit
สี = si, รส = rot
ญาติ = yat, ชาญ = chan
ฎีกา = dika, กฎ = kot
บัณฑิต = bandit, ษัท =sat
ด้าย = dai, เป็ด = pet
ปฏิมา = patima, ปรากฏ = prakot
ตา = ta, จิต = chit
ฐาน = than, รัฐ = rat
มณฑล = monthon
เต่า = thao, วัตน์ = wat
ถ่าน = than, นาถ = nat
ทอง = thong, บท = bot
ธง = thong, อาวุธ = awut
ประณีต = pranit, ปราณ = pran
น้อย = noi, จน = chon
ใบ = bai, กาบ =kap
ไป = pai, บาป = bap
ผา = pha
พงศ์ = phong, ลัพธ์ = lap
สำเภา = samphao, ลาภ = lap
ฝั่ง = fang
ฟ้า = fa, เสิร์ฟ = soep
ม้าม = mam
ยาย = yai
ร้อน = ron, พร = phon
ลาน = lan, ศาล = san
กีฬา = kila, กาฬ = kan
วาย = wai
หา = ha
ฮา = ha


หมายเหตุ :
                ๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตังสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้
                k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) kn จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต
                p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ
                t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต
                ๒. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch ใช่แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดู อินโดนีเซีย และภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาแต่ที่มิได้แก้ไขเป็นไปตามสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไขว้เขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตังอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจออกเสียงตัว c ซึ่งเป็น ค ในคำว่า con และออกเสียง ซ ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงให้ใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้มเคย เช่น จุฬา = chula จิตรา = chitttra
สระ
สระไทย
อักษรโรมัน
ตัวอย่าง
อะ, -ั(อะ ลดรูป)
     รร (มีตัวสะกด), อา
รร (ไม่มีตัวสะกด)
อำ
อิ,อี
อึ,อื
อุ,อู
เอะ, -(เอะ ลดรูป), เอ
แอะ,แอ
โอะ, (โอะ ลดรูป),
    โอ,เอาะ,ออ
เออะ,-ะ(เออะ ลดรูป), เออ
เอียะ,เอีย
เอือะ,เอือ
อัวะ,อัว,
--(อัว ลดรูป)
ใอ,ไอ,อัย,ไอย,อาย
เอา,อาว
อุย
โอย,ออย
เอย
เอือย
อวย
อิว
เอ็ว,เอว
แอ็ว,แอว
เอียว
ฤ (เสียง รึ),ฤๅ
ฤ (เสียง ริ)
ฤ (เสียง เรอ)
,ฦๅ
a

an
am
i
ue
u
e
ae
o

oe
ia
uea
ua

ai
ao
ui
oi
oei
ueai
uai
io
eo
aeo
iao
rue
ri
roe
lue
ปะ = pa, วัน = wan, สรรพ = sap,
มา = ma
สรรหา = sanha, สวรรค์ = sawan
รำ = ram
มิ = mi, มีด = mit
นึก = nuke, หรือ = rue
ลุ = lu, หรู = ru
เละ = le, เล็ง = leng, เลน = len
และ = lea , แสง = saeng
โละ = lo, ลม = lom, โล้ = lo
    เลาะ = lo, ลอม = lom
เลอะ = loe, เหลิง = loeng, เธอ = thoe
เผียะ = phai, เลียน = lian
-*, เลือก = lueak
ผัวะ = phua, มัว = mua,
      รวม = ruam
ใย = yai, ไล่ = lai, วัย = wai, ไทย = thai, สาย = sai
เมา = mao, น้าว = nao
ลุย = lui
โรย = roi, ลอย = loi
เลย = loie
เลื้อย = lueai
มวย = muai
ลิ่ว = lio
เร็ว = reo, เลว = leo
แผล็ว = phlaeo, แมว = maeo
เลี้ยว = liao
ฤษี, ฤๅษี = ruesi
ฤทธิ์ = rit
ฤกษ์ = roek
-*, ฦๅสาย = luesai

หมายเหตุ :
                . ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงให้ใช้ u แทน อุ อู และ ใช้ ue แทน อึ อื
                ๒. ตามหลักเดิม เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระแระสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียงอะ หรือ อา (a)
                ๓.ตามหลักเดิม เสียง อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ iue แต่เนื่องจากหลักเกณฑืนี้เสียงที่มีเสียง ว ลงท้าย และแทนด้วยเสียง o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao), เอ็ว เอว (eo), แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียงเอียว ซึ่งมาจาก เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao
* ไม่มีคำที่ประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย
.ความหมายของคำ
                ๒.๑ หน่วยคำ  หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดละมีความหมาย อาจมีเพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น นา ที นาที ลอง กอง ลองกอง นาฬิกา
นานัปการ เชื่อ ก็ เครื่อง
                ๒.๒ คำ หมายถึง หน่วยคำ ๑ หน่วยคำ หรือมากกว่านั้น เช่น หน้า โต๊ะ ลูกเสือ จานผี มหาราช ประชาชน ราชูปถัมภ์ อภิมหาอำนาจ
                ๒.๓ คำประสม หมายถึง หน่วยคำตั้งแต่ ๒ หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายใหม่หรือมีความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น ลูกเสือ (คน) จานผี ลมกรด
                ๒.๔ คำสามานยนาม
                                ๒.๔.๑ คำนามทั่วไป เช่น พระ คน เสื้อ สัตว์ แมว นก ต้นไม้ มะม่วง โต๊ะ วิทยุ บันได วัด วัง ถนน จังหวัด แม่น้ำ องค์กร บริษัท
                                ๒.๔.๒ ชื่อภูมิศาสตร์ คือ คำนามทั่วไปที่บอกลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติ เช่น ภู เขา ภูเขา ควน ดอย พนม แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง เกาะ ทะเล มหาสมุทร แหลม อ่าว หรือคำนามทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น ท่าเรือ ถนน ซอย สะพาน และหมายรวมถึงเขตการปกครองด้วย เช่น ประเทศ จังหวัด อำเภอ แขวง ตำบล หมู่บ้าน
                ๒.๕ คำวิสามานยนาม หมายถึง คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น
                            ๒.๕.๑ ชื่อบุคคล เช่น พระปรมาภิไธย พระนามราชทินนาม นาม นามสกุล
๒.๕.๒ ชื่อสถานที่และองค์กร เช่น หน่วยงาน วัด วัง โรงเรียน
ตัวอย่าง
                องค์กร                   มูลนิธิคนพิการแห่งประเทศไทย
                หน่วยงาน             กรมสรรพากร
                ๒.๖ คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าวิสามานยนาม เช่น พระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ยศ คำนำหน้าบุคคลทั่วไป รวมทั้งคำนำหน้าชื่อที่บอกลักษณะ สถานภาพของวิสามานยนามนั้นๆ เช่น ฯพณฯ... ศาสตราจารย์... นาย... นาง... นางสาว... เด็กชาย... เด็กหญิง... ฯลฯ
ตัวอย่าง
                พระอิสริยยศ        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
                ฐานันดรศักดิ์        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
                ยศ                           พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
๒.๗ คำทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม เช่น แปซิฟิก เมดิเตอร์เรเนียน ไอบีเอ็ม ยูเนสโก
๓. การใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ มีหลักการดังนี้
                ๓.๑ เมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์เป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng () เช่น สง่า = Sa-nga
                ๓.๒ เมื่อตัวอักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng (ง) และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น บังอร = Bang-on
                ๓.๓ เมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น สะอาด = sa-at, สำอาง = sam-ang
๔. การแยกคำ
                ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำ ๆ เช่น
                                สถาบันไทยคดีศึกษา           = Sathaban Thai Khadi Sueksa
                                ห้างแก้วฟ้า                           = Hang Kaeo Fa
                                ถนนโชคชัย                         = Thanon Chok Chai
                ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามายนามที่เป็นชื่อบุคคล ให้เขียนติดกัน เช่น
                                ลูกเสือ(คน)                          = luksuea
                                รถไฟ                                     = rotfai
                                นายโชคชัย จิตงาม             = Nai Chockchai Chitngam
๕. การใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
                ๕.๑ อักษรตัวแรกของวิสามานยนาม และคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามนั้นๆ ให้ใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่ เช่น
                                เด็กหญิงอุ้มบุญ ทองมี       = Dekyiny Umbun Thongmi
                                ร้านร่วมเสริมกิจ                  = Ran Ruam Soem Kit
                                จังหวัดกำแพงเพชร            = Changwat Kamphaeng Phet
                ๕.๒ อักษรตัวแรกของคำแรกในแต่ละย่อหน้าให้ใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่
๖. การถอดชื่อภูมิศาสตร์
                ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น
                                เขาสอยดาว                           = Khao Soi Dao ไม่ใช้ว่า Soi Dao Hill
                                แม่น้ำป่าสัก                          = Maenam Pa Sak ไม่ใช้ว่า Pa Sak River
                                ถนนท่าพระ                         = Thanon Tha Phra ไม่ใช้ว่า Tha Phra Road
                                เกาะสีชัง                               = Ko Si Chang ไม่ใช้ว่า Si Chang Island
๗. การถอดคำทับศัพท์
                ๗.๑ คำทับศัพท์ที่เป็นวิสามานยนาม ให้เขียนตามภาษาเดิม เช่น
                                บริษัทเฟิสต์คลาส จำกัด     = Fist Class Co. Ltd.
                ๗.๒ คำทับศัพท์ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนามและไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสามานยนามนั้น ให้เขียนคำทับศัพท์นั้นเป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย เช่น
                                สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
                                = Sathaban Theknoloyi Kankaset Mae Cho
๘. การถอดเครื่องหมายต่างๆ
                ๘.๑ คำที่มีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ให้ถอดคำซ้ำ วลี หรือประโยคอีกครั้งตามหลักการอ่าน เช่น
                                ทำบ่อย ๆ = tham boi boi
                                ไฟไหม้ ๆ = fai mai fai mai
๘.๒ คำที่มีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ซึ่งย่อความของคำที่รู้จักกันดีแล้ว เช่น กรุงเทพฯ หรือคำที่เป็นแบบแผนซึ่งต้องอ่านเต็ม เช่น โปรดเกล้าฯ ให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มคำอ่าน เช่น
                กรุงเทพฯ              = Krung Thep Maha Nakhon
                โปรดเกล้าฯ          = protklao protkramom
๘.๓ คำที่มีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หากมีคำเต็มซึ่งใช้ในข้อความก่อนหน้านั้นแล้ว จะถอดเต็มตามคำอ่านหรือไม่ก็ได้ เช่น
                กรมพระราชวังบวรฯ
                = Kromphraratchawangbowon Sathanmongkhon
                หรือ Kromphraratchawangbowon
๘.๔ คำ ฯพณฯ ให้ถอดตามคำอ่าน คือ พะนะท่าน = Phanathan
๘.๕ เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ที่อยู่ท้ายข้อความซึ่งจะอ่านว่า “ละ” หรืออ่านว่า “และอื่น ๆ” ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่านนั้น ๆ เช่น ในตลาดมีเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ
                = nai talat mi nueasat phak phonlamai namtan nampla la หรือ nai talat mi nueasat phak phonlamai namtan nampla lae uen uen
๘.๖ เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ที่อยู่กลางประโยคซึ่งอ่านว่า “ละถึง” ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่าน เช่น
                พยัญชนะไทย ๔๔ ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
                = phayanchana thai si sip si tua mi ko la thueng ho
๙. การถอดคำย่อ
                ๙.๑ คำย่อที่มาจากตำเต็มที่รู้จักกันดีและไม่ยาวนัก ให้อ่านเต็มตามหลักการอ่าน และให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน เช่น
                                จ.            ซึ่งย่อมาจากคำ จังหวัด                                       = changwat
                                ช.ม.               ”  ”           ชั่วโมง                                   = chuamong
                                พ.ศ.              ”  ”            พุทธศักราช                        = phutthasakkarat
                ๙.๒ คำย่อที่มาจากคำประสมหลายคำและค่อนข้างยาว หรือยาวมากจะถอดตามคำอ่านของตัวย่อ หรือถอดเต็มก็ได้ เช่น
                                ผอ. ย่อจาก ผู้อำนวยการ = pho-o หรือ phu-amnuaikan
๑๐. การถอดตัวเลข
                ให้ถอดตามหลักการอ่านอักขรวิธีไทย โดยเขียนอักษรโรมันเต็มตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย เช่น
                                ๔.๕๐ บาท   อ่านว่า           สี่บาทห้าสิบสตางค์
                                                                                = si bat ha sip satang
                                ๐๕.๐๐ น.       ”                  ห้านาฬิกา
                                                                                = ha nalika
                                ๓.๑.๑              ”               สามจุดหนึ่งจุดหนึ่ง
                                                                                = sam chut nueng chut nueng
                                ๑:๒                ”                                หนึ่งต่อสอง
                                                                                = nueng to song

๒.๕.๒ ชื่อสถานที่และองค์กร เช่น หน่วยงาน วัด วัง โรงเรียน
ตัวอย่าง
                องค์กร                   มูลนิธิคนพิการแห่งประเทศไทย
                หน่วยงาน             กรมสรรพากร
                ๒.๖ คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าวิสามานยนาม เช่น พระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ยศ คำนำหน้าบุคคลทั่วไป รวมทั้งคำนำหน้าชื่อที่บอกลักษณะ สถานภาพของวิสามานยนามนั้นๆ เช่น ฯพณฯ... ศาสตราจารย์... นาย... นาง... นางสาว... เด็กชาย... เด็กหญิง... ฯลฯ
ตัวอย่าง
                พระอิสริยยศ        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
                ฐานันดรศักดิ์        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
                ยศ                           พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
๒.๗ คำทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม เช่น แปซิฟิก เมดิเตอร์เรเนียน ไอบีเอ็ม ยูเนสโก
๓. การใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ มีหลักการดังนี้
                ๓.๑ เมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์เป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng () เช่น สง่า = Sa-nga
                ๓.๒ เมื่อตัวอักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng (ง) และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น บังอร = Bang-on
                ๓.๓ เมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น สะอาด = sa-at, สำอาง = sam-ang
๔. การแยกคำ
                ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำ ๆ เช่น
                                สถาบันไทยคดีศึกษา           = Sathaban Thai Khadi Sueksa
                                ห้างแก้วฟ้า                           = Hang Kaeo Fa
                                ถนนโชคชัย                         = Thanon Chok Chai
                ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามายนามที่เป็นชื่อบุคคล ให้เขียนติดกัน เช่น
                                ลูกเสือ(คน)                          = luksuea
                                รถไฟ                                     = rotfai
                                นายโชคชัย จิตงาม             = Nai Chockchai Chitngam
๕. การใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
                ๕.๑ อักษรตัวแรกของวิสามานยนาม และคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามนั้นๆ ให้ใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่ เช่น
                                เด็กหญิงอุ้มบุญ ทองมี       = Dekyiny Umbun Thongmi
                                ร้านร่วมเสริมกิจ                  = Ran Ruam Soem Kit
                                จังหวัดกำแพงเพชร            = Changwat Kamphaeng Phet
                ๕.๒ อักษรตัวแรกของคำแรกในแต่ละย่อหน้าให้ใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่
๖. การถอดชื่อภูมิศาสตร์
                ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น
                                เขาสอยดาว                           = Khao Soi Dao ไม่ใช้ว่า Soi Dao Hill
                                แม่น้ำป่าสัก                          = Maenam Pa Sak ไม่ใช้ว่า Pa Sak River
                                ถนนท่าพระ                         = Thanon Tha Phra ไม่ใช้ว่า Tha Phra Road
                                เกาะสีชัง                               = Ko Si Chang ไม่ใช้ว่า Si Chang Island
๗. การถอดคำทับศัพท์
                ๗.๑ คำทับศัพท์ที่เป็นวิสามานยนาม ให้เขียนตามภาษาเดิม เช่น
                                บริษัทเฟิสต์คลาส จำกัด     = Fist Class Co. Ltd.
                ๗.๒ คำทับศัพท์ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนามและไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสามานยนามนั้น ให้เขียนคำทับศัพท์นั้นเป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย เช่น
                                สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
                                = Sathaban Theknoloyi Kankaset Mae Cho
๘. การถอดเครื่องหมายต่างๆ
                ๘.๑ คำที่มีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ให้ถอดคำซ้ำ วลี หรือประโยคอีกครั้งตามหลักการอ่าน เช่น
                                ทำบ่อย ๆ = tham boi boi
                                ไฟไหม้ ๆ = fai mai fai mai
๘.๒ คำที่มีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ซึ่งย่อความของคำที่รู้จักกันดีแล้ว เช่น กรุงเทพฯ หรือคำที่เป็นแบบแผนซึ่งต้องอ่านเต็ม เช่น โปรดเกล้าฯ ให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มคำอ่าน เช่น
                กรุงเทพฯ              = Krung Thep Maha Nakhon
                โปรดเกล้าฯ          = protklao protkramom
๘.๓ คำที่มีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หากมีคำเต็มซึ่งใช้ในข้อความก่อนหน้านั้นแล้ว จะถอดเต็มตามคำอ่านหรือไม่ก็ได้ เช่น
                กรมพระราชวังบวรฯ
                = Kromphraratchawangbowon Sathanmongkhon
                หรือ Kromphraratchawangbowon
๘.๔ คำ ฯพณฯ ให้ถอดตามคำอ่าน คือ พะนะท่าน = Phanathan
๘.๕ เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ที่อยู่ท้ายข้อความซึ่งจะอ่านว่า “ละ” หรืออ่านว่า “และอื่น ๆ” ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่านนั้น ๆ เช่น ในตลาดมีเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ
                = nai talat mi nueasat phak phonlamai namtan nampla la หรือ nai talat mi nueasat phak phonlamai namtan nampla lae uen uen
๘.๖ เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ที่อยู่กลางประโยคซึ่งอ่านว่า “ละถึง” ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่าน เช่น
                พยัญชนะไทย ๔๔ ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
                = phayanchana thai si sip si tua mi ko la thueng ho
๙. การถอดคำย่อ
                ๙.๑ คำย่อที่มาจากตำเต็มที่รู้จักกันดีและไม่ยาวนัก ให้อ่านเต็มตามหลักการอ่าน และให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน เช่น
                                จ.            ซึ่งย่อมาจากคำ จังหวัด                                       = changwat
                                ช.ม.               ”  ”           ชั่วโมง                                   = chuamong
                                พ.ศ.              ”  ”            พุทธศักราช                        = phutthasakkarat
                ๙.๒ คำย่อที่มาจากคำประสมหลายคำและค่อนข้างยาว หรือยาวมากจะถอดตามคำอ่านของตัวย่อ หรือถอดเต็มก็ได้ เช่น
                                ผอ. ย่อจาก ผู้อำนวยการ = pho-o หรือ phu-amnuaikan
๑๐. การถอดตัวเลข
                ให้ถอดตามหลักการอ่านอักขรวิธีไทย โดยเขียนอักษรโรมันเต็มตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย เช่น
                                ๔.๕๐ บาท   อ่านว่า           สี่บาทห้าสิบสตางค์
                                                                                = si bat ha sip satang
                                ๐๕.๐๐ น.       ”                  ห้านาฬิกา
                                                                                = ha nalika
                                ๓.๑.๑              ”               สามจุดหนึ่งจุดหนึ่ง
                                                                                = sam chut nueng chut nueng
                                ๑:๒                ”                                หนึ่งต่อสอง

                                                                                = nueng to song